ที่ด่านตรวจคนเข้าเมือง ช่องเม็ก
คำขวัญของวิทยาลัยครูปากเซ
เก็บภาพเป็นที่ระลึก
กับน้องๆ นักศึกษา
ณ วิทยาลัยครูปากเซ แขวงจำปาสัก
ใผเป็นใผเบิง เบิงเอาเอง
มอบของที่ระลึก จากนักศึกษาปริญญาโท ม.กรุงเทพธนบุรี ศูนย์พุทไธสง รุ่นที่ 2
รับใบเกียรติคุณจาก
ดร.บุญมี โพนสวรรค์
รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยจำปาสัก
แขวงจำปาสัก สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
แสดงความขอบคุณต่อท่าน ดร.สุวรรณี (เจ้าหน้าที่กระทรวงการต่างประเทศ สปป ลาว)
ด้านหลังคือ ลำน้ำเซโด
เข้าพักที่ จำปาสักพาเลส
โรงแรมจำปาสักพาเลซ หรือวังเจ้าบุญอุ้ม
ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของเมืองปากเซ บนทางหลวงหมายเลข 13 ในอดีตวังเจ้าบุญอุ้มเคยใช้เป็นที่ประทับของเจ้าบุญอุ้ม ณ จำปาสัก เจ้าผู้ครองนครองค์สุดท้ายก่อนที่จะเกิดการปลดปล่อยหรือเปลี่ยนแปลงการปกครองประเทศเป็นระบอบสังคมนิยมในปี พ.ศ. 2518 ทำให้พระราชวังแห่งนี้ตกอยู่ในการดูแลของรัฐบาลลาว เจ้าบุญอุ้มเคยเป็นนายกรัฐมนตรีของลาวในปี พ.ศ. 2503 – 2505 ต่อมาภายหลังต้องเสด็จลี้ภัยทางการเมืองไปประทับที่ฝรั่งเศสในปี พ.ศ. 2517 และสิ้นพระชนม์ที่กรุงปารีสในปี พ.ศ. 2521
พระราชวังเริ่มสร้างในปี พ.ศ. 2511 แต่สร้างเสร็จหลังการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครองในปี พ.ศ. 2518 ทำให้เจ้าบุญอุ้มไม่มีโอกาสได้ครองพระราชวังหลังใหม่ ซึ่งถูกสร้างขึ้นอย่างงดงามเหนือลำน้ำเซโดน ตั้งอยู่เนินสูงใจกลางเมืองปากเซ ตัวพระราชวังเป็นตึกก่ออิฐถือปูนขนาดใหญ่สูง 6 ชั้น ได้รับอิทธิพลจากประเทศฝรั่งเศส สร้างโดยไม่มีการตอกเสาเข็ม แต่ใช้เสาจำนวนมากในการรับน้ำหนัก ภายในพระราชวังมีประตูหน้าต่างรวมกันกว่า 1,900 บาน ประตูหน้าต่างเหล่านี้ก่อสร้างและตกแต่งอย่างวิจิตรงดงาม จนได้รับการขนานนามว่า ศาลาพันห้อง ตัวพระราชวังหันหน้าไปทางแม่น้ำโขง ด้านหลังอยู่ติดแม่น้ำเซโดน
พระราชวังแห่งนี้ ทางรัฐบาลลาวใช้เป็นที่จัดประชุมพรรคและเป็นที่พำนักของแขกบ้านแขกเมืองมาจนถึง พ.ศ. 2538 ปัจจุบันพระราชวังได้รับการตกแต่งใหม่และเปิดเป็นโรงแรมที่ดีที่สุดในเมืองปากเซ ชื่อว่า โรงแรมจำปาสัก พาเลซ โดย ดร.ปองศักดิ์ ว่องพาณิชเจริญ ชาวจังหวัดศรีสะเกษ เป็นผู้บูรณะปรับปรุงใหม่ แผนของโรงแรมเป็นรูปตัว E ห้องล็อบบี้กรุด้วยไม้และแกะสลัก ห้องประชุมตกแต่งด้วยภาพจิตรกรรมฝาผนังเป็นรูปลาวลุ่มกับชาวเขาเผ่าต่างๆ สำหรับชั้นที่ 6 เป็นชั้นบนสุดที่มีจุดชมวิวที่สามารถมองเห็นทิวทัศน์โดยรอบเมืองปากเซ สะพานมิตรภาพลาว
มายังน้อยแทนอ คางเทิง
ไดคูกับบักสีดาเหลีย ผนา พนา
วาสนาซิฮอดเพิน บ่นอ
ซำนี่ ก็เอาหละ
วาสนาบักหำน่อย ไดนังกับผูฮู้ ตัง ๔ ด็อกเตอร์ ผุ่นเด่
ทานข้าวเที่ยง วันที่ 16 ที่ น้ำตกผาส้วมของเฒ่าแก่วิมล
น้ำตกผาส้วม แค่ชื่อก็อาจฟังดูไม่คุ้นหูสำหรับคนไทยเท่าไรนัก แต่จริงๆแล้วค่ำว่า ส้วม ของลาวหมายถึงห้องนอนที่กั้นไว้สำหรับลูกสาวลุกเขยโดยเฉพาะ ส่วนตาดแปลว่าลานหินที่เป็นชั้นๆ จุดเด่นของน้ำตกตาดผาส้วมคือ สายน้ำที่ไหลผ่านหินผาขนาดใหญ่ที่มีลักษณะเป็นแท่งๆ รูปร่างคล้ายห้องหอของคู่บ่าวสาวดูสวยงามนอกจากนี้ภายในอุทยานยังมีพิพิธภัณฑ์ที่รวบรวมเอาหมู่บ้านโบราณของหลายชนเผ่ามาจัดแสดงให้นักท่องเที่ยวได้ชมกัน เช่น บ้านของขาวกระต้าง ซึ่งเป็นชนเผ่าที่อาศัยอยู่ในพื้นที่รอบๆน้ำตกนี้ บ้านของชาวเผ่าอาลัก บ้านของชาวกระตู้ หอกวน ที่ใช้เป็นสถานที่ประกอบพิธีกรรมของชาวเผ่าละแว ภายในจัดแสดงพิพิธภัณฑ์ของชาวเผ่าให้ชมเป็นจำนวนมาก และหอสูงของชาวละแวที่ใช้เป็นที่สังเกตการณ์ภายในหมู่บ้าน และที่น่าสนใจที่สุดคือบ้านพักของทางอุทยานที่ตกแต่งได้สวยงามอย่างลงตัว ด้วยวัสดุที่หาได้ในท้องถิ่น
ตรงทางเข้าน้ำตกผาส้วมจะมีที่เก็บเงินค่าเข้าชม คนละ 5000 กีป โดยรถสามารถขับข้ามสะพานเข้าไปจอดข้างๆ ร้านอาหารได้เลยทานข้าวเที่ยง วันที่ 17 ที่ น้ำตกคอนพะเพ็ง
เราถามไกด์เราว่ารู้ไหมทำไมเขาเรียกว่าน้ำตกคอนพะเพ็ง ก็ได้คำตอบแบบตรงๆว่า เพราะเมื่อก่อนมีพระองค์หนึ่งธุดงค์มาจำพรรษาที่นี่ ชื่อว่า "เพ็ง" นานๆเข้าคนก็เรียกขาลที่นี่ว่า "คอนพะเพ็ง" อันนี้ก็รู้ไว้ใช่ว่า..viagra red ดีจริง
ต้นมณีโคตรจากวรรณกรรมท้องถิ่นอีสาน
ต้นมณีโคตร ศึกษาได้จากวรรณกรรมท้องถิ่นของอีสานเรื่องพระลักษณ์พระราม ซึ่งสำนวนแรกผู้เขียนได้ฟังจากคุณยายทองม้วน ภาคมฤกษ์(สัมภาษณ์: ๒๕๔๙) เล่าว่า
“ทศเศียรได้มาต่อสู่กับพระลักพระลามที่น้ำของ ทหารของทศเศียรโดนหุลละมานฆ่าตายถึง ๔,๐๐๐ ตน นอนตายกลางน้ำของกลายเป็นเกาะเรียกว่า สี่พันดอน เมื่อฆ่ายักษ์เสร็จจึงหักเอากิ่งไม้มณีโคตรมาช่วยรักษาชีวิตฝ่ายตน โดยไม้มณีโคตรมีสองกิ่ง คือกิ่งทางทิศตะวันออกชี้เป็น คือ ชี้คนตายให้ฟื้นได้ ส่วนกิ่งทางทิศตะวันตกชี้ตาย คือ ชี้คนให้ตายได้ จึงทำให้ฝ่ายพระลักพระลามมีชัยชนะ”
สำนวนที่สองข้อมูลจากงานเขียนของ ธวัช ปุณโณทก(๒๕๔๒:๓๔๔๘-๓๔๔๙) ซึ่งกล่าวถึงต้นมณีโคตรไว้เช่นกันว่าเป็นไม้ที่มีต้นเดียวในโลกคือที่กลางน้ำตกคอนพะเพ็ง มีลักษณะดังนี้
“ ต้นมณีโคตร มี ๓ กิ่งคือ กิ่งที่ชี้ไปทิศเหนือ ใครกินผลไม้ทิศนี้จะกลายเป็นนกยาง กิ่งที่ชี้ไปทิศใต้ ใครกินผลไม้ทิศนี้จะกลายเป็นลิงและกิ่งที่ชี้ไปทิศตะวันออก ใครกินผลไม้ทิศนี้จะกลับเป็นหนุ่มสาว มีพละกำลังมาก
เมื่อนางสีดาจันทะแจ่มถูกท้าวฮาพนาสวร(ทัศกัณฐ์) ลักไปอยู่เมืองลังกา พระลามพระลักได้ติดตามนางสีดาจันทะแจ่ม เดินทางจนเหนื่อยอ่อนมาพักอยู่ที่ใต้ต้นมณีโคตรซึ่งกำลังออกผลสุกสะพรั่งอยู่เต็มต้น พระลักไปเก็บผลกิ่งด้านทิศตะวันออกรับประทานจึงมีรูปโฉมสวยงามกว่าเดิม ส่วนพระลามไปเก็บผลกิ่งด้านทิศใต้จึงกลายร่างเป็นลิงเผือกขนาดใหญ่ พระลักเมื่อเห็นพระลามกลายร่างเป็นลิงเผือก ก็ล่อหลอกให้พระลามไปกินผลมณีโคตรกิ่งทิศตะวันออก แต่ไม่สามารถสื่อสารกับลิงพระลามได้ พระลักจึงนั่นเฝ้าลิงพระลามอยู่วันแล้ววันเล่า เดือนแล้วเดือนเล่า
กล่าวถึงฤาษีอาคมกล้าได้นางจันทะแจ่มอินทาเป็นภรรยา แต่พระอาทิตย์ลอบเป็นชู้จนได้ลูก ๒ คนคือ สังคีป(สุครีพ) และพะลีจันทร์(พาลี) ส่วนนางแก้วแพงศรีเป็นลูกที่เกิดแต่ฤาษี ฤาษีรักบุตรชายทั้งสองมาก สอนวิทยาให้ทุกอย่าง วันหนึ่งเกิดสงสัยในรูปร่างหน้าตาจึงเอาลูกทั้ง ๓ ไปเสี่ยงน้ำ ถ้าเป็นลูกตนให้ว่ายน้ำกลับมาได้ ก็มีนางแก้วแพงศรีคนเดียว
ฤาษีกลับบ้านพร้อมนางแก้วแพงศรี นางจันทะแจ่มอินทาไม่เห็นบุตรชายจึงถามนางแก้วแพงศรี นางแก้วแพงศรีจึงเล่าเรื่องเสี่ยงโยนน้ำให้ฟัง นางโกรธมากจึงจับนางแก้วแพงศรีเวี่ยงไปจนตกภูเขาลูกหนึ่ง นางเดินทางหลงป่ามาจนถึงต้นมณีโคตรจึงเก็บผลทางทิศใต้กิน กลายร่างเป็นลิงเผือกและได้สมสู่กับลิงพระลาม ออกลูกมาเป็น “หุลละมาน”(หนุมาน)
ทางพระลักล่อหลอกให้ลิงพระลามและสิงนางแก้วแพงศรีกินผลมณีโคตรทิศตะวันออกจึงกลายร่างเป็นมนุษย์ตามเดิม แต่หุลละมานกินเท่าไรก็ไม่กลายร่างเป็นคน เพราะเป็นเวรกรรมแต่ชาติปางก่อน”
จากทั้งสองสำนวนที่กล่าวถึงต้นมณีโคตรในวรรณกรรมที่แตกต่างกันบ้าง แต่ที่ทั้งสองสำนวนเชื่อร่วมกัน คือ ความศักดิ์สิทธิ์และมีอำนาจในต้นของต้นมณีโคตร และความเชื่อนั้นยังปรากฏมาจนถึงปัจจุบัน ซึ่งต้นไม้นี้ยังยืนยงคู่กับน้ำตกคอนพะเพ็ง เป็นสิ่งหนึ่งที่น่าชมและน่าศึกษายิ่งที่มีที่เดียวในโลกป้ายประชาสัมพันธ์ที่ทางการสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว( สปป.ลาว) จัดทำเพื่อให้นักท่องเที่ยวได้ศึกษาข้อมูลของน้ำตกคอนพะเพ็ง จากภาพปริวรรตได้ว่า “ คอนพะเพ็งเป็นน้ำตกที่ใหย่ที่สุดอาเซียตาเว็นออกเสียงใต้, น้ำตกคอนพะเพ็งแม่นแหล่งที่สวยงาม และปะทับใจผู้ได้มาเห็น. เซิ่งเป็นแก้งหินขะหนาดใหย่ที่กั้นทางเดินแม่น้ำของ, มีความสูงปะมาน 15 แมด และกว่างปะมาน 1 กิโลแมด. น้ำตกเปรียบสะเหมือนทำมะซาดปั้นแต่งขึ้นมา.”
ที่มา : พิมล ทองจันทร์ - ภูมิปัญญาอีสาน
ความสุขที่หาไม่ได้อีกแล้ว ณ ช่วงเวลานี้ ทุกคนอายุเท่ากันหมด
ประวัติ
ข้อมูลสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
ธงชาติและสัญลักษณ์
ธงชาติ เป็นธงที่ใช้มาตั้งแต่ 2 ธันวาคม 2518
มีแถบสีแดง น้ำเงินเข้ม แดงตามแนวนอน มีรูปพระจันทร์สีขาวอยู่ตรงกลางแถบสีน้ำเงิน
(รายละเอียดเพิ่มเติม)
สัญลักษณ์เป็นรูปวงกลม
ข้างล่างเป็นรูปเฟืองจักรกล และแถบผ้าสีแดง ที่บันทึกด้วยอักษรว่า "สาธารณรัฐประชาธิปไตย
ประชาชนลาว" ปีกทั้งสองข้างประดับด้วยรวงข้าวที่ผูกผ้าแถบสีแดงที่บันทึกตัวอักษรว่า "สันติภาพเอกราช ประชาธิปไตย เอกภาพ วัฒนาถาวร" ตรงกลางระหว่างรวงข้าวทั้งสองเป็นรูปพระธาตุหลวงถนน นาข้าว ป่าไม้ และเขื่อนผลิตกระแสไฟฟ้า
ประเทศลาว มีชื่อเป็นทางการว่า สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป. ลาว)
(Lao People's Democratic Republic )
ตั้งอยู่ในตอนกลางของอินโดจีนระหว่างละติจูต14-23 องศา และระหว่างลองกิจูต 100-108 องศา
ประธานประเทศ คือ ฯพณฯ คำไต สีพันดอน
นายกรัฐมนตรี คือ ฯพณฯ บุนยัง วอละจิด
เข้าเป็นสมาชิกอาเซียน (ASEAN) ในปี ค.ศ. 1997.
วันชาติลาว คือวันที่ 2 ธันวาคม ซึ่งสถาปนาเมื่อ ค.ศ..1975
รัฐธรรมนูญ ประกาศใช้เมื่อ วันที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2534
สปป. ลาวมีพื้นที่ 236,800 ตร.กม.(ส่วนที่เป็นน้ำ: 6,000 ตร.กม. พื้นดิน: 230,800 ตร.กม.) ร้อยละ 70 ของพื้นที่ทั้งหมดเป็นภูเขา และที่ราบสูง ส่วนใหญ่อยู่ทางตอนเหนือของประเทศ
ทิศเหนือ ติดกับ ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน
ทิศใต้ ติดกับ ประเทศราชอาณาจักรกัมพูชา
ทิศตะวันออก ติดกับ ประเทศสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม
ทิศตะวันตก ติดกับ ประเทศราชอาณาจักรไทย
ทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ติดกับ ประเทศพม่า
ความยาวของประเทศแต่เหนือถึงใต้ประมาณ 1,700 กม. ชายแดนของลาว ยาว 4,500 กม.
(มีชายแดนติดพม่า 230 กม. กัมพูชา 492 กม. จีน 416 กม. ไทย 1,730 กม,เวียดนาม 1,957 กม.)
ช่วงที่ยาวที่สุดของประเทศ 1,000 กิโลเมตร
ช่วงที่กว้างที่สุดของประเทศ 500 กิโลเมตร
ช่วงที่แคบที่สุดของประเทศ 150 กิโลเมตร
แบ่งเขตการปกครองออกเป็น 16 แขวง (จังหวัด) 1 กำแพงนคร และ 1 เขตพิเศษ แขวงต่าง ๆ คือ
1. (Phongsali) พงสาลี
2. (Louangnamtha) หลวงน้ำทา
3. (Bokeo) บ่อแก้ว
4. (Louangphabang) หลวงพระบาง
5. (Oudomxai) อุดมไซ
6. (Houaphan) หัวพัน
7. (Xaignabouli) ไซยะบุลี
8. (Xiangkhoang) เซียงขวาง
9. (Vientiane) เวียงจันทน์
10. (Bolikhamxai) บอลิคำไซ
11. (Khammouan) คำม่วน
12. (Savannakhet ) สะหวันนะเขต
13. (Salavan) สาละวัน
14. (Xekong) เซกอง
15. (Champasak) จำปาสัก
16. (Attapu) อัตตะปือ
1 กำแพงนคร คือ กำแพงนครเวียงจันทน์ และ 1 เขตพิเศษ คือ เขตพิเศษไซสมบูรณ์ (Xaisomboun)
เมืองหลวง คือ กำแพงนครเวียงจันทน์ มีประชากรประมาณ 400,000 คน ในสมัยอาณาจักรล้านช้าง เวียงจันทน์ มีชื่อว่า จันทบุรีกรุงศรีสัตนาคนาหุตพระเจ้าไชยเชษฐาธิราช สถาปนาให้เป็นนครหลวงแห่งอาณาจักรล้านช้าง ในปี ค.ศ.1563 (พ.ศ. 2106)
การจัดตั้งและการบริหาร หลายหมู่บ้านรวมกัน เป็น เมือง (อำเภอ) หลายเมืองรวมกัน เป็น แขวง (จังหวัด)
นายบ้าน (ผู้ใหญ่บ้าน) เป็น ผู้บริหารของบ้าน คณะกรรมการปกครองเมือง เป็น ผู้บริหารเมือง
คณะกรรมการปกครองแขวง เป็น ผู้บริหารแขวง คณะกรรมการปกครองกำแพงนคร เป็นผู้บริหารกำแพงนคร (เทศมนตรี)
ระดับศูนย์กลาง มีกระทรวง คณะกรรมการ และสถาบัน
เวลามาตรฐาน เวลามาตรฐานของลาว จะเร็วกว่ามาตรฐานกรีนิช ประเทศอังกฤษ 7 ชั่วโมง
ลักษณะภูมิประเทศ พื้นที่ ส่วนใหญ่มีลักษณะเป็นที่ราบและภูเขาโดยพื้นราบจะอยู่ทางฝั่งทิศตะวันตก ส่วนด้านตะวันออกเป็นแนวภูเขายาวตั้งแต่เหนือจรดใต้ จากภูมิประเทศเช่นนี้ทำให้ สปป.ลาว มีแม่น้ำที่เกิดจากแนวภูเขาด้านทิศตะวันออกเป็นจำนวนมาก แม่น้ำเหล่านี้ จะไหลผ่านป่าเขาลำเนาไพร ลงมาสู่พื้นที่ราบทางทิศตะวันตก และไหลลงแม่น้ำโขงในที่สุด
ภูมิอากาศ ส.ป.ป.ลาว ตั้งอยู่ในเขตที่มีอากาศอบอุ่น อากาศจะแตกต่างกันในที่ลุ่ม ที่ราบสูง และเขตภูเขาบางแห่ง อุณหภูมิลดลงใกล้ศูนย์เซลเซียส ในฤดูหนาว อุณหภูมิเฉลี่ยตลอดปี 28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 38 องศาเซลเซียส ในระหว่างเดือนเมษายน และพฤษภาคม เวียงจันทน์ อุณหภูมิต่ำสุด 19 องศาเซลเซียสในเดือนมกราคม ส่วนพื้นที่ภูเขาสูงอุณหภูมิต่ำลงถึง 14-15 องศเซลเซียสในเวลากลางวัน และในเวลากลางคืนต่ำสุดจนกระทั่ง ถึงจุด เยือกแข็งปริมาณน้ำฝนตลอดปีในบริเวณภาคใต้มากกว่า 3,000 มิลลิเมตร และบริเวณภาคเหนือประมาณ 1,000-1,500 มิลลิเมตร
ฤดู มี 2 ฤดู คือ ฤดูหนาว และ ฤดูร้อน
แต่ตามพุทธศาสนาจะมี 3 ฤดู คือ
- ฤดูหนาว เริ่มจากเดือน 12 แรม 1 ค่ำ ถึงวันเพ็ญเดือน 4
- ฤดูร้อน เริ่มจากเดือน 4 แรม 1 ค่ำ ถึงวันเพ็ญเดือน 8
- ฤดูฝน เริ่มจากเดือน 9 แรม 1 ค่ำ ถึงวันเพ็ญเดือน 12
พื้นที่ส่วนต่ำที่สุดคือ: แม่น้ำโขง (Mekong River) 70 เมตร ส่วนที่สูงที่สุดคือ:ภูเบี้ย (Phou Bia) 2,820 เมตร (สูงกว่าดอยอินทนนท์ของไทย 700 ฟุต)แม่น้ำโขงไหลผ่านประเทศจากทิศเหนือลงสู่ทิศใต้มีความยาวประมาณ 1,900 กิโลเมตรและยังเป็นเขตแดนธรรมชาติระหว่างประเทศลาวกับประเทศไทยด้วย
ปริมาณฝนตก เฉลี่ย 1,500 - 2,000 มิลลิเมตร ความชื้น 70-85 %
ภาษา ใช้ภาษาลาว ซึ่งมีลักษณะคล้ายกับภาษาไทย
หน่วยเงิน คือ กีบ อัตราแลกเปลี่ยน 1 บาท เท่ากับ 250 กีบ (8 ก.พ. 46)
ประชากร 5,777,180 คน (ค.ศ. 2002 )
อายุ 0-14 ปี 42.5% (ชาย 1,233,659; หญิง 1,219,872)
อายุ 15-64 ปี 54.2% (ชาย 1,543,246; หญิง 1,591,419)
อายุ 65 ปีขึ้นไป 3.3% (ชาย 86,375; หญิง 102,609) (ค.ศ.2002 )
ประกอบด้วย ลาวลุ่ม (lowland) 68%, ลาวเทิง (upland) 22%, ลาวสูง (highland) ได้แก่ Hmong ("Meo") และเย้า Yao (Mien) 9% มีชาวเวียดนาม และจีน 1%ประชากร
ประชากรของลาวประกอบด้วย 3 ชนชาติใหญ่
1. ลาวลุ่ม หมายถึงชนชาติลาวที่อาศัยอยู่ในที่ลุ่ม
เช่น ลาวลุ่ม ไทเหนือ ไทดำ ไทขาว ผู้ไท ไทพวน ไทลื้อ ฯลฯ
2. ลาวเทิง หมายถึงลาวที่อาศัยอยู่ที่ราบสูง ประกอบด้วย
ข่าแจะ ละแนด แกนปานา สีดา บิด สามหาง ดำ หอก ผู้เทิงไฟ เขลา ปันลุ แซ กะแสง ส่วย ตะโอยละแว ละเวน อาลัก กะตาง เทิงน้ำ เทิงบก เทิงโคก อินทรี ยาเหียน กายัก ชะนุ ตาเลี่ยง ฯลฯ
3. ลาวสูง หมายถึงชาวลาวภูเขา ประกอบด้วยชนชาติเผ่าม้ง และอื่นๆ เช่น ม้งลาย ม้งขาว ม้งดำ ย้าว โซโล ฮ้อ รุนี มูเซอ ผู้น้อย กุ่ย ก่อ แลนแตน ฯลฯ ทั้งสามชนชาติใช้ภาษาลาวเป็นภาษากลาง และ ได้อยู่ร่วมชีวิตฉันท์พี่น้องในอาณาเขตเดียวกันมาเป็นพันปี
หมายเหตุ คำว่า "ไท" และ "ผู้" ในภาษาลาวหมายถึง "คน" หรือ "ชาว" อาทิเช่น ไทเหนือ ไทใต้ ไทเวียงจันทน์ ไทหนองคาย หรือ ชาวเหนือ ชาวใต้ชาวเวียงจันทน์ ชาวหนองคาย ฯลฯ ส่วนคำว่า "ผู้" เป็นคำศัพท์เก่าแก่ที่มีความหมายเดียวกันกับ "ไท" เช่น ผู้ลาว ผู้ลื้อ ผู้ม้ง ผู้ย้าว
ได้แก่ คนลาว คนลื้อคนม้ง คนย้าว นั่นเอง
ศาสนา พุทธ 65.4 %
การสื่อสาร จำนวนโทรศัพท์พื้นฐาน 25,000 (1997)
จำนวนโทรศัพท์มือถือ 4,915 (1997)
จำนวนสถานีวิทยุ AM 12, FM 1, shortwave 4 (1998)
จำนวนเครื่องรับวิทยุ 730,000 (1997)
จำนวนสถานีโทรทัศน์ 4 (1999)
จำนวนเครื่องรับโทรทัศน์ 52,000 (1997)
จำนวนผู้ให้บริการอินเทอร์เนต 1 (2000)
จำนวนผู้ใช้อินเทอร์เนต 6,000 (2001)
ป่าไม้ พื้นที่ของสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว เป็นป่าไม้และขุนเขา เนื้อที่ป่าไม้ทั้งหมดมีประมาณ 11 ล้านเฮ็คตาร์ ในนี้เนื้อที่ที่ได้สำรวจแล้วมี 5.6 ล้านเฮ็คตาร์ อุดมไปด้วยไม้นาๆ ชนิดที่มีราคา เช่น ไม้คำพี ไม้ประดู่ ไม้มะค่า ไม้แคน ไม้สัก ไม้จิก ไม้รัง ไม้ยาง ไม้บาก ไม้สน ฯลฯที่แขวง(จังหวัด) หัวพัน (ซำเหนือ) มีไม้ชนิดหนึ่งเรียกว่า "ไม้โล่งเล่ง" มีลำต้นใหญ่ เนื้อไม้จะทน
แดดทนฝน และปลวกเป็นร้อย ๆ ปี ดังนั้น ชาวพื้นเมืองจึงนิยมใช้มุงหลังคาบ้าน และทำโลงศพนอกจากไม้เนื้อแข็งและเนื้ออ่อนตามที่กล่าวมาแล้ว ในป่าและขุนเขาของลาวยังอุดมสมบูรณ์ไปด้วยสมุนไพรหลายร้อยชนิด รวมทั้งโสมขาวบางชนิด ที่เกิดขึ้นในภาคเหนือ และที่ราบสูงของแขวง(จังหวัด) เชียงขวาง ผลิตผลจากป่าไม้ที่สำคัญอีกก็มี แก่นจันทร์ กำยาน ชัน น้ำมันยาง ยางสน
กระวาน(หมากแน่ง) หวาย คั่ง ฯลฯ
สัตว์ป่า เนื่องด้วยว่า ส.ป.ป.ลาว มีป่าไม้และภูเขามากจึงเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่านานาพันธุ์นอกเสียจาก "แรด" ที่สูญพันธุ์ไปแล้วในศตวรรษที่ 19 นี้เองด้วยฝีมือมนุษย์ สัตว์ป่าที่พบในลาวมีช้าง กระทิง ควายป่า เสือโคร่ง เสือดำ กวาง เก้ง ฯลฯ
แม่น้ำและภูเขา ส.ป.ป.ลาว มีภูเขาและป่าไม้อุดมสมบูรณ์ จึงมีแม่น้ำลำคลองมากมายหลายสายอาทิเช่น - แม่น้ำของ (โขง) เป็นแม่น้ำที่ใหญ่ที่สุดใน ส.ป.ป.ลาว มีความยาว 4,220 กม. ระยะที่ไหลผ่านส.ป.ป.ลาว ยาว 1,500 กม. ชาวลาวเผ่าลื้อที่อยู่สิบสองพันนา จังหวัด ยูนานของจีน เรียกแม่น้ำล้านช้าง สาขาแม่น้ำโขงมีทั้งหมด 13 สาย ได้แก่ น้ำทา น้ำแบง น้ำอู น้ำเซือง น้ำคาน น้ำงื่ม น้ำเงียบ น้ำซัน น้ำกระดิง น้ำเซบังไฟ น้ำเซบังเหียง น้ำเซโดน และน้ำเซกอง
- น้ำตกที่ใหญ่ที่สุด คือ ตาดคอน หรือ หลี่ผี ซึ่งอยู่ในเขตใต้ของแม่น้ำโขง กว้าง 10 กม. สูง 15 ม.
- น้ำตกที่สูงที่สุดได้แก่ น้ำตกตาดเซเซ็ด อยู่จังหวัดสาละวัน สูง 20 เมตร
- ภูเขาที่สูงที่สุดได้แก่ ภูเบี้ย อยู่จังหวัดเชียงขวาง (เมืองพวน) สูง 2,820 เมตร
- ที่ราบสูงที่อุดมสมบูรณ์ที่สุดได้แก่ ภูเพียงบริเวณ สูง 1,200 เมตร และภูเพียงเชียงขวาง ซึ่ง เหมาะสำหรับปลูกผักและเลี้ยงสัตว์มาก
ประเพณี ตามจารีตประเพณีของลาวจะเรียกว่า ฮีดสิบสองคองสิบสี่ ฮีดยี่คองเจียง ชาวลาว จะมีงานประเพณีมากมายตลอดปี เช่น
เดือน 3 วันมาฆบูชา มีงานฉลองพระธาตุอิงฮังที่แขวงสะหวันนะเขต และงานวัดภูจำปาสัก
เดือน 5 วันสงกรานต์ปีใหม่ลาว
เดือน 6 วันวิสาขบูช า
เดือน 8 วันเข้าพรรษา
เดือน 9 บุญข้าวประดับดิน
เดือน 10 บุญข้าวฉลาก
เดือน 11 ออกพรรษา งานแข่งเรือ ที่นครเวียงจันทน์
เดือน 12 บุญพระธาตุหลวงเวียงจันทน์
นอกจากงานประเพณีทางพุทธศาสนาแล้ว ยังมีพิธีทางรัฐการอีก เช่น
วันที่ 1 มกราคม วันปีใหม่สากล
วันที่ 20 มกราคม วันสร้างตั้งกองทัพประชาชนลาว
วันที่ 8 มีนาคม วันแม่หญิง(วันสตรีสากล)
วันที่ 22 มีนาคม วันสร้างตั้งพรรคประชาชนปฏิวัติลาว
วันที่ 1 พฤษภาคม วันกรรมกร (วันแรงงานสากล)
วันที่ 1 มิถุนายน วันเด็ก
วันที่ 15 สิงหาคม วันรัฐธรรมนูญ
วันที่ 7 ตุลาคม วันครูแห่งชาติ
วันที่ 12 ตุลาคม วันประกาศเอกราช
วันที่ 2 ธันวาคม วันชาติ (วันสร้างตั้ง ส.ป.ป.ลาว)
การคลัง
1. ระบบเงินตรา เงินตราของ ส ป ป ลาว เรียกว่า เงินกีบ ธนาคารแห่ง ส.ป.ป.ลาว เป็นผู้รับผิดชอบพิมพ์เงินตราออกใช้ มีธนบัตรใบละ 20,000 กีบ 10,000 กีบ 5,000 กีบ 2,000 กีบ 1,000 กีบ 500 กีบ 100 กีบ 50 กีบ 20 กีบ 10 กีบ 5 กีบ และ 1 กีบ ส่วนเหรียญมี 50 อัด และ 10 อัด
2. สถาบันการเงิน ธนาคารกลาง ซึ่งเป็นธนาคารแห่งรัฐของ ส.ป.ป.ลาว เป็นผู้รับผิดชอบชี้นำ ควบคุมดูแลสถาบันเงินตรา เช่น
ธนาคารธุรกิจ ธนาคารของลาวแบ่งออกเป็น 2 ระบบ คือ
1. ธนาคารกลาง ได้แก่ธนาคาร แห่ง ส.ป.ป.ลาว (State Bank)
2. ธนาคารธุรกิจ :
2.1 ธนาคารพาณิชย์ของรัฐ ได้แก่ ธนาคารการค้าต่างประเทศ (Bank of foreign Trade) ธนาคารเศษฐาธิราช ธนาคารนครหลวง ธนาคารภาคใต้ ธนาคารลาวใหม่ ธนาคารล้านช้าง ธนาคารอรุณใหม่ ธนาคารส่งเสริมกสิกรรม
2.2 ธนาคารพาณิชย์ที่ร่วมทุนกับต่างประเทศได้แก่ธนาคารลาวพาณิชย์ ธนาคารร่วมพัฒนา (Joint Development Bank-JDB) ธนาคารเวียงจันทน์ พาณิชย์ และธนาคารเวียดนาม-ลาว
2.3 ธนาคารพาณิชย์ของต่างชาติ ได้แก่ ธนาคารทหารไทย ธนาคารกรุงเทพ ธนาคารไทยพาณิชย์ ธนาคารกสิกรไทย ธนาคารกรุงศรีอยุธยา และธนาคาร Public Bank (มาเลเซีย)
หน่วยงานส่งเสริมการลงทุน คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนจากต่างประเทศในเมื่อก่อน ปัจจุบันกรมส่งเสริมการลงทุนภายในและต่างประเทศ Foreign Investment Management Committee (FIMC). Department of Promotion and Management for Domestic & Foreign Investment. (Website at ; http:/www,investlao.com)
สินค้าส่งออก สินค้าส่งออกของลาว ได้แก่ 1. ไม้และไม้แปรรูป 2. สินค้าประมงและสัตว์ 3. แร่ธาต ุ 4. สินค้าการเกษตร เช่น ชา กาแฟ เครื่องเทศ ฯลฯ 5. เครื่องนุ่งห่ม 6. พาหนะและอะไหล่ 7. หนังสัตว์และผลิตภัณฑ์หนังฟอก 8. เครื่องจักรกลที่ไม่ใช้ไฟฟ้าและส่วนประกอบ 9. เครื่องพลาสติกและผลิตภัณฑ์ 10. เครื่องอุปโภค
สินค้านำเข้า สินค้านำเข้าลาว ได้แก่ 1. น้ำมันเชื้อไฟ 2. เครื่องใช้ไฟฟ้า 3. พาหานะและอาไหล่ 4. เครื่องอุตสาหกรรมการเกษตร 5. อุปโภค 6. เครื่องนุ่งห่ม 7. เครื่องก่อสร้าง 8. เครื่องจักรกลที่ไม่ใช้ไฟฟ้าและส่วนประกอบ 9. เครื่องดื่ม 10. เหล็กและเหล็กกล้า
สมาชิกองค์การระหว่างประเทศ ACCT ADB ASEAN ESCAP FAO IBRD ICAO IDA IFAD IFC INTERPOL IOC ITU ILO IMF
LORCS NAM PCA UN UNCTAD UNDP UNESCO UNIDO UPU WIPO WFTU WHO WMO MTO
การศึกษา ระบบการศึกษาแห่งชาติของ ส.ป.ป.ลาว มีดังนี้
1. สามัญศึกษา การศึกษาในระบบสามัญศึกษาประกอบด้วย - เตรียมอนุบาล (เลี้ยงเด็ก) - อนุบาล 3 ปี - ประถม 5 ปี - มัธยมต้น 3 ปี - มัธยมปลาย 3 ปี
2. การศึกษานอกระบบโรงเรียน การศึกษานอกระบบโรงเรียน ได้จัดเป็น 3 ประเภทคือ
- ฝึกอบรมผู้ใหญ่ที่อ่านและเขียนหนังสือไม่เป็น
- ยกระดับวิชาชีพให้แก่ผู้ใหญ่
- ยกระดับวิชาการให้แก่เจ้าหน้าที่ และพนักงาน
- ยกระดับวิชาการให้แก่เจ้าหน้าที่ และพนักงาน
3. อาชีวะศึกษา - ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ - ระดับช่างเทคนิค - ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง
4. การศึกษามหาวิทยาลัย ส.ป.ป.ลาว มีมหาวิทยาลัยเดียวคือ มหาวิทยาลัยแห่งชาติ เรียน 5-7 ปี มีทั้งหมด 6 วิทยาเขต ประกอบด้วย 10 คณะวิชา 1 วิทยาลัย และ 1 ศูนย์ เช่น คณะศึกษาศาสตร์, คณะวิทยาศาสตร์, คณะสังคมวิทยาศาสตร์, คณะภาษาศาสตร์, คณะเศรษฐศาสตร์ และการคุ้มครอง, คณะป่าไม้, คณะเกษตรศาสตร์, คณะวิทยาศาสตร์การแพทย์, คณะวิศวกรรม และสถาปัตยกรรมศาสตร์ และ คณะนิติศาสตร์และรัฐศาสตร์. มี 1 วิทยาลัยวิทยาศาสตร์พื้นฐาน 1 ศูนย์พัฒนาครู และมีโรงเรียนประถมและมัธยมสาธิต
5. การศึกษาภาคเอกชน การศึกษาภาคเอกชน ได้จัดในระดับเตรียมอนุบาลถึงระดับวิทยาลัย หรืออนุปริญญา(ป.ว.ส.)เท่านั้น, ส่วนระดับปริญญาตรี กำลังอยู่ในระยะเตรียมความพร้อมด้านต่างๆ
ปูชนียสถานและสถานที่ท่องเที่ยว สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวในปัจจุบัน เป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรล้านช้าง มีปูชนียสถานที่เหลือจากการทำลาย เช่น พระธาตุจอมสี และวัดวาอารามต่างๆ ที่นครหลวงพระบาง ที่นครเวียงจันทน์ เช่น พระธาตุหลวงเวียงจันทน์ วัดพระแก้ว วัดสีสะเกด พระเจ้าองค์ตื้อ ที่นคร เวียงจันทน์ และแขวงต่างๆ เช่น ทุ่งไหหินที่แขวงเชียงขวาง พระเจ้าองค์ตื้อเมืองโส้ยแขวงหัวพัน พระธาตุสีโคดที่แขวงคำม่วน พระธาตุอิงฮัง ที่แขวงสะหวันนะเขตและประสาทหินวัดภูแขวงจำปาสัก นอกจากนี้ยังมีสถานที่ท่องเที่ยวหลายแห่ง เช่น น้ำตกตาดกวางซี, ตาดแส้,
ถ้ำติ่งที่แขวงหลวงพระบาง
เขื่อนน้ำงึ่ม แขวงเวียงจันทน์
สถานที่ท่องเที่ยวธรรมชาติหลายๆแห่งที่เมืองวังเวียงแขวงเวียงจันทน์ น้ำตกหีนคันนากำแพงนครเวียงจันทน์ น้ำตกตาดซอนกำแพงนครเวียงจันทน์ บ้องไฟพญานาคเขตเมืองปากงึ่มกำแพงนครเวียงจันทน์ น้ำตกตาดเซเซ็ดแขวงสาละวัน ถ้ำแอ่นที่แขวงคำม่วน น้ำตกหลีผี
คอนพระเพ็งแขวงจำปาสัก และอื่นๆ เป็นต้น
.......ข้อมูลบางส่วนจาก สถานทูตลาวประจำประเทศไทย
อาณาจักรจำปาสัก เกิดขึ้นหลังจากอาณาจักรฟูนานเสื่อมสลายลง ชาวลาวได้ย้ายถิ่นเข้ามาสร้างบ้านเรือนในแถบนี้ เกิดเป็นเมืองใหม่นามว่า จำปานะคะบุลีสี
หรือจำปานคร ปรากฏชื่อในพงศาวดารเขมรว่า สะมะพูปุระ
เมื่อถึงรัชสมัยพระเจ้าฟ้างุ้ม ได้ทรงรวบรวมเมืองต่างๆ ของลาวเข้ามาเป็นอาณาจักรเดียวกันชื่อว่าอาณาจักรล้านช้าง มีเมืองหลวงอยู่ที่เมืองหลวงพระบาง แต่เมื่อพระเจ้าฟ้างุ้มสิ้นพระชนม์ อาณาจักรล้านช้างเริ่มตกต่ำลงเพราะสงครามแย่งชิงอำนาจและการก่อกบฏต่างๆ นานนับร้อยปี จนถึง พ.ศ. 2063 พระเจ้าโพธิสารราชขึ้นครองราชย์และได้รวบรวมแผ่นดินเป็นปึกแผ่นอีกครั้ง ต่อมาพระโอรสคือพระเจ้าไชยเชษฐาธิราชได้ย้ายเมืองหลวงของอาณาจักรล้านช้างมาอยู่ที่กรุงศรีสัตนาคนหุต (เวียงจันทน์) เพื่อหลีกเลี่ยงอิทธิพลของอาณาจักรหงสาวดี อาณาจักรล้านช้างมีความเจริญมา 200 ปีเศษก็เริ่มอ่อนแอลง หัวเมืองต่างๆ แตกออกเป็น 3 ฝ่าย คือ อาณาจักรหลวงพระบาง อาณาจักรเวียงจันทน์ และอาณาจักรจำปาสัก ตรงกับสมัยกรุงธนบุรีของสยาม ขณะนั้น สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชระแวงว่าลาวจะร่วมมือกับพม่ายกทัพมาตี จึงโปรดเกล้าฯ ให้เจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก (รัชกาลที่ 1) ยกทัพไปตีลาวทั้ง 3 อาณาจักรตกเป็นเมืองขึ้นของสยามนานถึง 114 ปี จนถึงปี พ.ศ. 2436 ในสมัยรัชกาลที่ 5 ภายหลังวิกฤตการณ์ ร.ศ. 112 ดินแดนลาวฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขงรวมทั้งแขวงจำปาสักบางส่วนตกอยู่ภายใต้การปกครองของฝรั่งเศส ขณะที่ดินแดนฝั่งขวาของแม่น้ำโขงบริเวณเมืองจำปาสัก ซึ่งเดิมขึ้นอยู่กับมณฑลอุบลตกอยู่ภายใต้การปกครองของฝรั่งเศสในเวลาต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2447ช่วงปี พ.ศ. 2484 ระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 หลังจากกรณีพิพาทอินโดจีน ประเทศไทยได้รับดินแดนอินโดจีนฝรั่งเศสบางส่วนคืนจากฝรั่งเศส โดยนำท้องที่การปกครองเมืองจำปาศักดิ์ในสมัยรัชกาลที่ 5 รวมไปถึงดินแดนประเทศกัมพูชาปัจจุบัน ได้แก่พื้นที่ส่วนหนึ่งของจังหวัดสตึงแตรงและพื้นที่ส่วนใหญ่ของจังหวัดพระวิหาร ยกขึ้นเป็นจังหวัดนครจัมปาศักดิ์ โดยมีเจ้ายุติธรรมธร (หยุย ณ จำปาศักดิ์) เป็นผู้ครองนคร แต่เมื่อสงครามสิ้นสุด ไทยในฐานะผู้แพ้สงครามต้องส่งดินแดนดังกล่าวคืนให้แก่ฝรั่งเศส ต่อมาเมื่อประเทศลาวได้รับเอกราชจากฝรั่งเศสเมื่อปี พ.ศ. 2497 จึงได้รวมอาณาจักรล้านช้างทั้ง 3 อาณาจักรขึ้นเป็นราชอาณาจักรลาว พื้นที่ดังกล่าวจึงได้ยกขึ้นเป็นแขวงจำปาสักของประเทศลาวมาจนถึงปัจจุบัน โดยเจ้าครองนครองค์สุดท้ายแห่งราชอาณาจักรจำปาสัก ก่อนการสถาปนาสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว คือเจ้าบุญอุ้ม ณ จัมปาศักดิ์
การปกครอง
• เลขาคณะพรรคแขวงจำปาสัก: นายสุกัน มะหาลาด • รองเลขาคณะพรรคแขวง/เจ้าแขวงจำปาสัก: นายสอนไซ สีพันดอน
• รองเจ้าแขวงจำปาสัก: นายสมสะหนิด บุดติวง
การแบ่งเขตการปกครอง
• 1601 ปากเซ (Pakse) • 1602 ซะนะสมบูน (Sanasomboon)
• 1603 บาเจียงจะเลินสุก (Ba Chiengchaleunsook)
• 1604 ปากซ่อง (Paksong)
• 1605 ปะทุมพอน (Pathoomphone)
• 1606 โพนทอง (Phonthong)
• 1607 จำปาสัก (Champassak)
• 1608 สุขุมา (Sukhuma)
• 1609 มูนละปะโมก (Moonlapamok)
• 1610 โขง (Khong)
ภูมิศาสตร์
ที่ตั้ง
อาณาเขตติดต่อ
• ทิศเหนือ ติดต่อกับแขวงสาละวัน และแขวงเซกอง • ทิศตะวันออก ติดต่อกับแขวงอัตตะปือ
• ทิศใต้ ติดต่อกับจังหวัดสตึงแตรงและจังหวัดพระวิหาร ประเทศกัมพูชา
• ทิศตะวันตก ติดต่อกับจังหวัดอุบลราชธานี ประเทศไทย
ภูมิประเทศ
แขวงจำปาสัก มีพื้นที่ทั้งหมด 15,415 ตารางกิโลเมตร[ต้องการอ้างอิง] มีพื้นที่ติดต่อกับประเทศไทยและกัมพูชา ตำแหน่งที่ชายแดนทั้ง 3 ประเทศบรรจบกันเรียกว่า "สามเหลี่ยมมรกต" สภาพพื้นที่ประกอบด้วยพื้นที่ลุ่มแม่น้ำโขงและแม่น้ำเซโดนบริเวณตอนกลาง มีแนวเทือกเขาสูงทางทิศเหนือและทิศตะวันออก และติดต่อกับที่ราบสูงบอละเวนทางทิศตะวันออก ซึ่งมีความสูงประมาณ 1,500-1,800 เมตร จากระดับน้ำทะเลปานกลาง พื้นที่โดยทั่วไปมีความสูงไม่เกิน 1,000 เมตรภูมิอากาศ
แขวงจำปาสักมีอุณหภูมิเฉลี่ยตลอดทั้งปีประมาณ 27 องศาเซลเซียส แต่บริเวณทางทิศเหนือของแขวงที่เมืองปากซ่องมีอากาศเย็นตลอดทั้งปี อุณหภูมิเฉลี่ยต่ำกว่า 20 องศาเซลเซียส และมีความชื้นสัมพัทธ์สูง ปริมาณน้ำฝนระดับ 1,400-2,000 มิลลิเมตรต่อปี ยกเว้นที่ราบสูงทรัพยากร
ทรัพยากรป่าไม้• เขตป่าสงวนแห่งชาติเซเบียน
• เขตป่าสงวนแห่งชาติดงหัวสาว
• เขตป่าสงวนแห่งชาติภูเซียงทอง
ทรัพยากรสัตว์ป่า
ทรัพยากรน้ำ
ทรัพยากรธรณี
ประชากร
การคมนาคม
ทางหลวง
• ทางหลวงหมายเลข 13 (ใต้) เชื่อมต่อกับแขวงสาละวัน แขวงสะหวันนะเขต นครหลวงเวียงจันทน์ และประเทศกัมพูชา
• ทางหลวงหมายเลข 16 เชื่อมต่อกับประเทศไทย
• ทางหลวงหมายเลข 18 เชื่อมต่อกับแขวงอัตตะปือ
• ทางหลวงหมายเลข 20 เชื่อมต่อกับเมืองสาละวัน แขวงสาละวัน
• ทางหลวงหมายเลข 23 เชื่อมต่อกับแขวงเซกอง
เรือโดยสาร
• เรือโดยสารตามแม่น้ำโขง จากปากเซไปยังจำปาสัก และบริเวณสี่พันดอน
ท่าอากาศยาน
• ท่าอากาศยานนานาชาติปากเซ
ด่านพรมแดนที่สำคัญ
• ด่านพรมแดนวังเต่า ติดต่อกับประเทศไทยที่ด่านพรมแดนช่องเม็ก อำเภอสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี ห่างจากตัวเมืองอุบลราชธานีประมาณ 90 กิโลเมตร • ด่านพรมแดนเวินคาม ติดต่อกับประเทศกัมพูชาทางเรือโดยสารตามแม่น้ำโขงไปยังเมืองสตึงแตรง
• ด่านพรมแดนดงกระลอ ติดต่อกับประเทศกัมพูชาที่ด่านดงกะลอ จังหวัดสตึงแตรง โดยทางหลวงหมายเลข 13 (ใต้) ของลาวเชื่อมต่อกับทางหลวงหมายเลข 7 ของกัมพูชา
การเดินทางจากพรมแดนไทย
จากด่านพรมแดนช่องเม็ก สามารถเดินทางผ่านด่านพรมแดนวังเต่าเข้าสู่ประเทศลาว จากนั้นมาตามทางหลวงหมายเลข 16 (เป็นถนนลาดยาง) ระยะทางประมาณ 42 กิโลเมตร ข้ามแม่น้ำโขงที่สะพานลาว-ญี่ปุ่น ความยาว 1,380 เมตร เข้าสู่เมืองปากเซ ใช้เวลาเดินทางประมาณ 1 ชั่วโมง โดยสามารถใช้บริการรถโดยสารจากชายแดนไทยที่สถานีขนส่งลาว ห่างจากด่านตรวจคนเข้าเมืองลาวประมาณ 300 เมตร มีทั้งรถโดยสารประจำทางและรถสองแถววันละหลายเที่ยว (แต่ถ้ามีประมาณ 3-4 คน แนะนำให้ใช้บริการรถยนต์รับจ้าง จะสะดวกและเร็วกว่า) นอกจากนี้ทั้งประเทศลาวและไทยได้ร่วมมือกันจัดเดินรถโดยสารประจำทางระหว่างประเทศ จากตัวเมืองอุบลราชธานี-ปากเซ ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2549 เป็นต้นมา
เมืองสำคัญเมืองปากเซ
เมืองปากเซ เป็นเมืองเอกของแขวงจำปาสัก และถือเป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยวของลาวตอนใต้ ตั้งอยู่ทางฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขง มีประชากรประมาณ 70,000 คน เป็นเมืองที่มีประชากรหลากหลายเชื้อชาติ ประเพณีและวัฒนธรรม ทั้งชาวลาว ชาวจีน และชาวเวียดนาม บรรยากาศทั่วไปเงียบสงบเป็นธรรมชาติ ชาวบ้านมีวิถีชีวิตเรียบง่ายเมืองจำปาสัก
เมืองจำปาสัก (บ้านวัดทุ่ง) เคยเป็นที่ตั้งของอาณาจักรจำปาสัก และเคยเป็นเมืองเอกของแขวงจำปาสัก ตั้งอยู่ทางฝั่งขวาของแม่น้ำโขง ภายหลังการยึดครองของฝรั่งเศสในปี พ.ศ. 2448 เมืองจำปาสักได้ถูกลดความสำคัญลงเป็นเมืองบริวารของแขวง โดยย้ายเมืองเอกไปยังเมืองปากเซทางฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขง ห่างจากเมืองจำปาสักไปทางทิศเหนือประมาณ 30 กิโลเมตรเขตการปกครองของสปป. ลาว
เทศบาลนคร นครหลวงเวียงจันทน์
แขวง คำม่วน • จำปาศักดิ์ • เชียงขวาง • ไชยบุรี • เซกอง • บ่อแก้ว • บอลิคำไซ • พงสาลี • เวียงจันทน์ • สุวรรณเขต • สาละวัน • หลวงน้ำทา • หลวงพระบาง • หัวพัน • อัตปือ • อุดมไชย
เขตการปกครองในอดีต เขตพิเศษเซียงฮ่อน-หงสา • เขตพิเศษไชยสมบูรณ์
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น