http://www.google.com

วันเสาร์ที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2554

อบรมครูไหมอาสา เพื่อการอนุรักษ์ภูมิปัญญาไทย ปี ๒๕๕๔









  

ความรู้เรื่องผ้าไทย



วิวัฒนาการของผ้า
ประเทศไทย เป็นดินแดนที่มีมนุษย์อยู่อาศัยมานานนับเป็นหมื่น ๆ ปี ในยุคก่อนประวัติศาสตร์ ตั้งแต่ยุคโลหะเป็นต้นมา มนุษย์รู้จักการทอผ้าใช้เอง ดังจะเห็นได้จากหลักฐานที่ค้นพบตามแหล่งโบราณคดีต่าง ๆ เช่น แหล่งโบราณคดีบ้านเชียง ตำบลบ้านเชียง อำเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานี พบเศษผ้าจาก "ป่านใยกัญชา" ติดอยู่กับกำไลสำริด โดยมีสนิมของทองแดงเป็นตัวยึดและป้องกันการเน่าเปื่อย พบเครื่องมือในการทอผ้าหลายชนิด ได้แก่ แวดินเผา ซึ่งเป็นดินเผารูปกรวยขนาดเล็กประมาณเท่าหัวแม่มือ มีรูสำหรับสอดแกนไม้เล็ก ๆ ตอนปลายจะทำเป็นเงี่ยงหรือขอสำหรับสะกิดหรือ เกี่ยวปุยฝ้าย เพื่อสางลงมายังแวขณะที่หมุน แรงถ่ายของแวจะปั่นปุยฝ้าย เป็นเส้นด้ายพันอยู่โดยรอบ แวจึงเป็นเครื่องปั่นด้ายยุคแรกของมนุษย์



หินทุบเปลือกไม้ เป็นเครื่องมือสำหรับทำเส้นใยเพื่อใช้ทอผ้าหรือ ทำเส้น เชือก เส้นด้าย มีลักษณะเป็นหินเนื้อละเอียดด้านหน้าตัดของหินคือ ส่วนที่ใช้ทุบ มักบากเป็นร่องตาราง ใช้สำหรับทุบเปลือกไม้ประเภทปอหรือป่านเพื่อ ให้ได้เส้นใยขึ้นมาใช้ทอผ้า



ลูกกลิ้งดินเผา เป็นลูกกลิ้งเล็กขนาดเท่าหัวแม่มือ ยาวประมาณ 2 นิ้ว ตัว ลูกกลิ้งมักขุดเป็นร่องเพื่อให้เกิดลวดลายขณะกลิ้ง พิมพ์ลวดลายบนผืนผ้า เพราะเชื่อว่ามนุษย์สมัยก่อนประวัติศาสตร์ รู้จักย้อมสีธรรมชาติใช้แล้ว โดยใช้น้ำสีที่คั้นได้จากส่วนต่าง ๆ ของพืช เช่น ดอก ผล ราก ใบ ฯลฯ



การทอผ้าในสมัยก่อนประวัติศาสตร์ มิได้มีเฉพาะการใช้เส้นใยจากพืชเท่า นั้น หากแต่พบว่ามีการใช้ขนสัตว์ในเมโสโปเตเมีย และกลุ่มประเทศเมืองหนาว ที่เก่าแก่ที่สุด พบในสแกนดิเนเวีย มีอายุราว ๓,๐๐๐ ปีมาแล้ว



สำหรับ “ไหม” (Silk) นั้นพบว่ามีการนำมาใช้ทอผ้ากันในสมัยก่อนประวัติศาสตร์ เฉพาะในบริเวณทวีปเอเซียและในแหล่งโบราณคดีบ้านเชียงในประเทศ ไทยก่อนที่จีนจะนำมาทอเป็นผ้าไหมจนแพร่หลายไปทั่วโลก



ส่วนเครื่องมือที่ใช้ในการทอผ้าคือ “หูก” หรือกี่ทอผ้านั้น คงมีมาหลายพันปีแล้ว เช่นเดียวกับเครื่องปั่นด้าย หูกอาจมีหลายรูปแบบหลายชนิดทั่งขนาดเล็กๆ ทอด้วยมือและขนาดใหญ่ ที่ต้องตอกตรึงไว้กับพื้นมีโครงไม้ดอกติดไว้กับเสาเรือนแต่ไม่ปรากฏร่องรอยของหูกให้เห็น เพราะหูกจะทำด้วยไม้ซึ่งเป็นอินทรีย์วัตถุจึงผุพังไปตามกาลเวลาเพียงชั่วเวลาไม่กี่ปี
จากหลักฐานที่พบเศษผ้าที่เส้นใยของฝ้ายและไหมตามกำไลสำริดสร้อยและเศษโลหะในแหล่งโบราณคดีก่อนประ วัติศาสตร์ในประเทศไทย แสดงให้เห็นว่ามนุษย์ก่อนประวัติศาสตร์ในไทยมีการทอผ้า ทั้งผ้าฝ้ายและผ้าไหมขึ้นใช้แล้ว และกระบวนการทอผ้านี้ได้พัฒนาสืบต่อมาในสมัยประวัติศาสตร์
สำหรับในภาคเหนือตอนล่าง จังหวัดแพร่และน่าน ได้พบหลักฐานสำคัญที่แสดงถึง วิวัฒนาการทอผ้าหลายแห่ง ได้แก่
๑.ภาพเขียนแสดงลักษณะการแต่งกายของคนในยุคต่างๆ ที่เก่าแก่ที่สุด ได้แก่ ภาพเขียนสีก่อนประวัติศาสตร์ที่เขาปลาร้า จังหวัดอุทัยธานี ในยุคต่อ ๆ มามี ภาพเขียนที่ ฝาผนังวัดภูมินทร์ จังหวัดน่าน วัดเวียงต้า อ.ลอง จ.แพร่ วัดกลางธรรมสาคร จ.อุตรดิตถ์ วัดราษฎร์บูรณะ จ.พิษณุโลก วัดอุโบสัตตราราม จ.อุทัยธานี เป็นต้น
๒. เศษผ้าและเครื่องมือในการทอผ้าโบราณ พบเศษผ้าติดกับขันสำริด แวดินเผา และสำริด ที่บริเวณชุมชนจันเสน หลักฐานดังกล่าวเก็บรักษาไว้ ที่พิพิธภัณฑ์วัดจันเสน จังหวัดนครสวรรค์
๓.จากการขุดค้นป้อมประตูเมืองด้านทิศตะวันตกของเมืองเก่าสุโขทัย พบเศษผ้า ติดอยู่ที่ขันสำริดขนาดเล็ก เส้นผ่าศูนย์กลาง ๔.๕ ซม. สูง ๓ ซม.
๔. แหล่งโบราณคดีจังหวัดตากในแถบเทือกเขาถนนธงชัย-ตะนาวศรี ระหว่าง ชายแดนไทยพม่า เขตติดต่อระหว่าง จังหวัดตาก -เชียงใหม่ - แม่ฮ่องสอน พบเครื่อง ถ้วยชาม เศษผ้า และเชือกร้อยลูกปัด นอกจากนี้ยังพบผ้า และเชือกติดอยู่กับเต้าปูนสำริด ผ้าและเชือกบางส่วนมีร่องรอยสีย้อม(ข้อมูลจากหนังสือแหล่งโบราณคดีในประเทศไทย ของกองโบราณคดี กรมศิลปากร , ผ้าไทย ของวิบูลย์ ลี้สุวรรณ)



ประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๘ กลุ่มชนชาติไทยได้รวมตัวกันเป็นราชอาณาจักรในอาณาบริเวณต่าง ๆ ของประเทศ ไทยปัจจุบัน อาณาจักรล้านนา อยู่ในบริเวณ
ภาคเหนือ เช่น เชียงใหม่ พะเยา แพร่ น่าน ลำปาง ลำพูน แม่ฮ่องสอน มีการขาย ผ้าอย่างกว้างขวาง ทั้งที่ทอใช้เองและส่งเป็นสินค้าไปขายยังราชอาณาจักรใกล้เคียงเช่น ผ้าสีจันทร์ขาว ผ้าสีจันทร์แดง ผ้าสีดอกจำปา ผ้ากัมพล ผ้าสำหรับพระภิกษุสงฆ์ เช่น จีวร ผ้าปูอาด ผ้ารัดปะคด ฯลฯ




อาณาจักรสุโขทัย ตั้งอยู่บริเวณตอนบนของภาคกลาง มีการทอผ้าหลายชนิด เช่น ผ้าเบญจรงค์ ผ้าสกุลพัสตร์ ผ้าเล็กหลบ ผ้าหนง ผ้ากรอบ เชื่อกันว่าผ้าที่ประชาชนทั่ว ไปใช้สอยนั้นทอกันนอกเมืองสุโขทัย ส่วนผ้าชิ้นในราชสำนัก มีช่างหลวงเป็นผู้ทอและสั่งซื้อจากต่างประเทศอื่น เช่น ประเทศจีน อินเดีย และเปอร์เซีย







สมัยกรุงศรีอยุธยารุ่งเรือง มีการสั่งผ้าจากต่างประเทศเข้ามา ใช้ในราชสำนัก และสั่งเข้ามาขายให้กับประชาชนมากกว่าสมัยสุโขทัย เช่น ผ้าไหม ผ้าแพรจากจีน ผ้าพิมพ์จากอินเดีย ผ้าปูมจากเขมร ผ้าคานินิส ผ้าลาตินสี ผ้าบิราเบล ผ้า ทันตา ผ้าชูเคโตส จากยุโรป นอกจากนี้ยังมีผ้าพิมพ์ลาย ผ้าปักไหม และปักดิ้น และพรหมจาก เปอร์เซีย ผ้าเหล่านี้ใช้เป็นเครื่องแต่งกายของกษัตริย์และเจ้านายในราชสำนักและใช้เป็นเครื่อง ตกแต่งราชสำนัก และอาคารบ้านเรือน ในสมัยอยุธยา เกิดแหล่งค้าผ้าและตลาดจำหน่ายวัสดุ อุปกรณ์ในการทอผ้าตามย่านต่าง ๆ ของกรุงศรีอยุธยาเป็นศูนย์กลางการค้าผ้า เรียกได้ว่า เป็นยุคทองของการค้าผ้า ทีเดียว







นอกจากนี้ ผ้ายังมีบทบาทสำคัญหลายประการ เช่น เสื้อผ้าที่ประชาชนสวมใส่จะบ่งบอกฐานะทางสังคมเป็นบรรณาการ ระหว่างประเทศ เป็นเครื่องกำหนดตำแหน่งของผู้สวมใส่ ผ้าบางชนิดใช้เฉพาะพระมหากษัตริย์และเจ้านายชั้นสูง บางชนิดใช้ เฉพาะขุนนาง เช่น ผ้าสมปักปูม สมปักล่อง จวน สมปักลาย สมปักริ้ว เป็นต้น นอกจากนี้ผ้ายังใช้เป็นบำเหน็จรางวัลแก่ข้าราช บริพาร เป็นเครื่องปูนบำเหน็จต่างเงินเดือน เรียกว่า ผ้าหวัดรายปี และผ้าในราชสำนักในลักษณะต่าง ๆ ได้รับทอดถึงกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้นด้วย







สมัยกรุงธนบุรีและกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น การทอผ้าและซื้อขายผ้า เนื่องจากยุคนั้นยังมีศึกสงคราม และอยู่ในช่วงการฟื้นฟูประเทศ แต่มีหลักฐานปรากฏว่า ทางหัวเมืองทางใต้ มีการ เกณฑ์ช่างทอผ้าจากไทรบุรี เข้ามาสอนคนพื้นเมืองที่สงขลา และ



นครศรีธรรมราช ทอผ้ายก จนมีชื่อ เสียงจนถึงปัจจุบัน







ในสมัยราชกาลที่ ๓ ปรากฏผ้าใช้ในราชการหลายชนิด เช่น ผ้าเข้มขาบ ผ้าเตล็ด ผ้าเยียรบับ ผ้าสมนัก (ผ้าสองนักหรือถมปัก) ใน ช่วง กรุงรัตนโกสินทร์นั้นปรากฏชื่อผ้าชนิดต่างๆ ที่ประชาชนใช้ทั่วไป หลายชนิด เชื่อว่ามีคุณภาพ สีสันลวดลาย อยู่ในเกณฑ์ด้อยกว่าตามฐานะ เช่น ผ้าตาบัวปอก ผ้าดอกสน ดอกเทียน ผ้าตาเล็ดงา ผ้าตามะกล่ำ ผ้าตาสมุก สมัยรัชการที่ ๔ ขุนนาง และข้าราชการสำนักสงฆ์ เสื้อแพร และเสื้อกระบอกผ้าขาว แต่ธรรมเนียมการใช้ผ้าก็ยังมิได้เปลี่ยนแปลงมากนัก



สมัยรัชการที่ ๕ มีการเปลี่ยนแปลงการใช้ผ้า และธรรมเนียมการแต่งกายของชนบางราชการ ให้เลิกนุ่งผ้าปูม แต่ให้ใช้ผ้าม่วงสีน้ำเงินแก่แทน มีการพระราชทานเสื้อ ให้ตามยศ ตำแหน่ง ซึ่งมักเป็นผ้าแพรสีต่าง ๆ แบ่งตามกระทรวงกรมที่สังกัด การแต่ง กายพัฒนาไปตามแบบยุโรปมากขึ้น สำหรับสตรีนิยมแต่งกายแบบฝรั่งเสื้อขาวแขนยาวชายเสื้อแค่เอว ห่มแพร สไบเฉียงผ่านอกเสื้อ หรือบางทีห่มตาด สวมถุงน่อง รองเท้าบูท เป็นต้น ในช่วงรัชการที่ ๔-๕ นี้ ผ้าพิมพ์ลายจากอินเดียกลับมานิยมอีกครั้ง มีการส่งผ้าที่ ออกแบบลวดลายแล้วไปให้อินเดียพิมพ์ลายเรียกว่าผ้าลายอย่าง ต่อมาอินเดียพิมพ์ลาย ไม่เหมือนแบบที่ส่ง
ไปเรียกว่า ผ้าลายนอกอย่าง จากความนิยมนี้จึงมีการผลิตผ้าพิมพ์ลายขึ้นมาใช้เองในปี ๒๔๗๕ และเป็นต้นแบบการพิมพ์แบบสกรีน (Screen Printing) มีการเปิดโรงงานผลิตผ้าพิมพ์ ประชาชนจึงพัฒนาการนุ่งผ้าโจงกระเบนแบบโบราณมาเป็นโจงกระเบนผ้าลาย และนุ่งซิ่นหรือนุ่งผ้าลายไทย ในสมัยรัชกาลที่ ๖
การแต่งกายในยุคหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง หรือ ยุควัตถุนิยม มีการแต่งกายโดย ใช้ผ้าจากต่างประเทศมากขึ้น แต่เป็นการเปลี่ยนแปลงเพียงช่วงระยะเวลาอันสั้นเท่านั้น
รัชการที่ ๘ การแต่งกายในราชสำนัก เปลี่ยนแปลงจากการใช้ผ้าราคาสูง ที่ต้องใส่ด้าย เส้นเงินทอง มาใช้ผ้าที่มีลักษณะเรียบง่าย และยังนิยมใช้ผ้าไหม
รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ ๙ แห่งราชวงศ์จักรี ซึ่งสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงให้ความสนพระทัย ในกิจการทอผ้าพื้นเมือง และทรง ให้การสนับสนุนส่งเสริมให้มีการทอผ้าพื้นเมืองเป็นที่สวยงาม โดยทรงเป็นผู้นำในการใช้ผ้าพื้นเมืองฉลองพระองค์ทั้งในขณะที่ประทับ ในประเทศ และในวโรกาส เสด็จเยือนต่างประเทศทำให้ผ้าพื้นเมืองของไทยได้มี โอกาสอวดโฉมต่อสายตาของชาวโลกและสำหรับในประเทศก็ทำให้ความนิยมในผ้าไทย ทั้งไหมและฝ้าย กลับฟื้นคืนชีพขึ้นมาอีก และกำลังเจริญเติบโตอย่างงดงาม





















ผ้าไหม เป็นผ้าที่คนไทยส่วนใหญ่นิยมใช้ทำเป็นเสื้อผ้า ผ้าไหม ผลิตมาจากตัวไหม ชาวบ้านมักชอบเรียกการปลูกหม่อน และการทำผ้าไหมว่า "การปลูกหม่อนเลี้ยงไหม" ผ้าไหมมีลวดลายมากมายและสวยงาม




ต้นกำเนิดผ้าไหม








เรื่องกำเนิดผ้าไหม(จีน)นี้เป็นนิทานแห่ง มณฑล หังโจว ซึ่งเรื่องก็มีอยู่ว่า … ครั้งหนึ่งนานมาแล้ว มีสตรีผู้หนึ่ง อาศัยอยู่ในหุบเขาเร้นลับแห่งหนึ่งในหังโจว ไม่มีใครเคยเห็นเธอผู้นี้มาก่อนเลยนอกจากเด็กหญิงน้อย ๆ คนหนึ่งนามว่า อาเจียว เมื่ออาเจียวอายุ ๙ ขวบ มารดาก็ทิ้งเธอไว้กับน้องชายวัย ๔ ขวบคนหนึ่ง อย่างเดียวดาย เพราะบิดาของเธอนั้น เมื่อภรรยาตายได้ไม่ทันไร ก็แต่งงานใหม่กับผู้หญิงที่มีจิตใจเดียวกับแม่เลี้ยงของ แม่เอื้อยในนิทาน เรื่องปลาบู่ทองของไทย



ดังนั้นในวันที่หนาวจัดวันหนึ่ง แม่เลี้ยงก็ใช้อาเจียวให้ออกไปหาหญ้าแห้งใส่ตะกร้ามาให้เต็ม สั่งว่าถ้าไม่ได้หญ้าเต็ม ตะกร้า ก็อย่าได้กลับบ้านเป็นอันขาด ถึงกลับมาก็จะไม่มีอะไรให้กิน อาเจียวก็ออกจากบ้านไปพร้อมกับตะกร้า ซึ่งว่างเปล่าพอๆกับความว่างเปล่าในกระเพาะน้อยๆของเธอ เธอเที่ยวเดินหาเปะปะไปตามท้องทุ่ง ริมฝั่งแม่น้ำ ตลอดจนถึงยอดเขา ตั้งแต่เช้าจนเย็นก็หาหญ้าแห้งไม่ได้ เพราะว่าเป็นหน้าหนาวซึ่งหิมะจับจนแม้แต่ต้นไม้ก็แข็งทิ้งใบหมด



อาเจียวนั่งลงบนหินก้อนหนึ่งอย่างหมดเรี่ยวหมดแรง น้ำตาไหลอาบหน้า แล้วความคิดอย่างหนึ่งก็แวบเข้ามาสู่สมองของเด็กน้อย.....ถ้าเธอตายเสียได้เธอก็คงจะหนีพ้นไปจากความทุกข์ระทมเช่นที่เป็นอยู่.....เธอคิด แต่แล้วจู่ๆอาเจียวก็กลับนึกไปถึงแม่ นึกถึงแสงแดดอบอุ่นที่สาดส่องใบไม้ ดอกไม้ในเดือน มิถุนายน เสียงนกร้อง เธอกำลังเล่นกับน้องชายสนุกอยู่ตามริมน้ำโดยมีแม่ถือตะกร้าที่เต็มไปด้วยหญ้าตัดใหม่ เดินตรงมาที่เธอกับน้องชายพร้อมด้วยใบหน้ายิ้มละไม เมื่อเข้ามาใกล้ แม่บอกอาเจียวว่า “อย่าเพิ่งไปนอน เราไปเลี้ยงแกะกันก่อน” นึกมาถึงตอนนี้ พลันอาเจียวก็ได้ยินเสียงอะไรบางอย่าง “มีหญ้ามากมายอยู่ในถ้ำ มีหญ้ามากมายอยู่ในถ้ำ”



อาเจียวเงยหน้ามองฟ้า ระหว่างก้อนเมฆสีเทา ที่มองเห็นในขณะนั้น มีนกที่มีขนเหมือนสร้อยสีขาวรอบคอตัวหนึ่ง บินวนอยู่ เสียงที่เธอได้ยินนี้ดูเหมือนกับจะดังมาจากนกน้อยตัวนี้ และนกน้อยก็ทำท่าเหมือนจะบอกทางอะไรบางอย่างแก่เธอ อาเจียวลุกจากก้อนหินเดินตามนกน้อยที่บินนำไปเรื่อยๆ อย่างไม่รู้ตัว และแล้วนกน้อยก็หายวับไป หลังจากที่พาเธอผ่านทางเลี้ยวมาได้สองสามขยัก












เมื่อไม่มีนกนำทางอีกแล้ว อาเจียวเริ่มหวาดกลัว นกนั้นพูดได้หรือ? เธอเพียงแต่ฝันไปกระมัง? เธอครุ่นคิดและทั้งๆที่กำลังสับสนงุนงงอยู่นั้น เธอก็พบต้นสนยักษ์ใหญ่ต้นหนึ่งขวางหน้า ใบสนยักษ์ต้นนี้ ดกหนาจนแสงแดดส่องลอดลงมาไม่ได้ อาเจียวมองต้นสนแล้วเริ่มออกเดินวนไปรอบๆลำต้นของมัน และแล้ว.......เธอก็สังเกตเห็นรูใหญ่ตรงซอกผานั้นต้นสนนั้น อาเจียวยืนมองอย่างงงๆ มีเสียงน้ำไหลวนไปมาจากในถ้ำนั้นดังออกมาด้วย



เสียงน้ำนั้นนำสติกลับมาสู่อาเจียวอีกครั้งหนึ่ง เธอรู้สึกกระหายน้ำจึงเดินไปที่นั่น อากาศที่อบอุ่นและชุ่มชื้นลอยออกมาจากในถ้ำ อาเจียวทำมือเป็นถ้วยตักน้ำเข้าปาก น้ำในลำธารจากถ้ำนี้หวานน่ากิน แล้วอาเจียวก็มองเห็นหญ้าอ่อนๆขึ้นอยู่เต็มสองข้างลำธาร เธอก้มลงตัดหญ้าลึกเข้าไปเรื่อยๆ ยิ่งลึกเข้าไปก็ยิ่งมีทั้งดอกไม้สวยๆและหญ้างามๆ



เมื่อตัดหญ้าได้เต็มตะกร้า อาเจียวก็รู้สึกว่าตนได้ฝ่าทะลุถ้ำออกมาสู่ลานโล่งแห่งหนึ่ง ผู้หญิงสวยคนหนึ่งในชุดสีขาว กำลังเดินตรงมายังเธอ เธอผู้นั้นยิ้มกับอาเจียว และเมื่อใกล้เข้ามา เธอกล่าวกับอาเจียวว่า “ไม่ต้องกลัว เพื่อนเล็กๆของฉัน หนูดูเหน็ดเหนื่อยมากนะ อยากจะอยู่พักคุยอะไรกับฉัน สองสามวันไหม ?” อาเจียวเหลียวมองรอบตัว ที่ปลายเนินเบื้องหน้ามีบ้านสวยหลังคาสีขาว น่าอยู่หลังหนึ่ง หน้าบ้านมีต้นแคระใบสีเขียวแก่แถวหนึ่ง เด็กหญิงเล็กๆหลายคนในชุดสีขาว กำลังร้องเพลงพลางเก็บใบไม้อยู่ที่นั่น



ภาพที่เห็นทำให้อาเจียว ปิติเป็นอันมาก เป็นครั้งแรกนับตั้งแต่แม่ตาย ที่อาเจียวได้รู้สึกเช่นนี้ อาเจียวจึงตัดสินใจที่จะอยู่กับ สตรีชุดขาวผู้ใจดีนี้สักสอง สามวัน ตามที่ได้รับคำเชิญ ในระหว่างที่พักอยู่ที่นี่ อาเจียวได้ร่วมกับเด็กหญิงเหล่านั้น เก็บใบไม้ในตอนกลางวัน เอาใบไม้นี้ไปเลี้ยงตัวหนอนสีขาว ราวกับหิมะ ที่เธอเพิ่งรู้จักในตอนกลางคืน อาเจียวได้เรียนรู้ว่าตัวหนอนเหล่านี้คือตัวไหม ใบไม้ที่เก็บมาเลี้ยงมันก็คือใบหม่อน สุภาพสตรีที่น่ารักบอกเธอว่า เมื่อตัวหนอนชักใยเป็นตัวดักแด้แล้ว เราก็ สามารถจะสาวใยของมันเป็นเส้นยาวๆออกมาใช้ทอผ้าได้ เรียกว่า ผ้าไหม และยังสามารถจะย้อมผ้าไหมนี้ให้เป็นสีสวยงามอะไรก็ได้ ตามที่เธอชอบด้วย



อาเจียวจดจำเรื่องเร้นลับนี้ไว้ในใจ เวลาอันผาสุกในบ้านน้อยสีขาว ผ่านไปราวกับติดปีก วันหนึ่งอาเจียวก็นึกได้ว่าเธอได้จากบ้านมานานราวกว่าสามเดือนแล้ว แล้วความคิดอย่างหนึ่งก็แล่นเข้ามาในสมอง อาเจียวคิดว่าทำไมเราไม่กลับบ้านไปรับน้องเรามาอยู่ด้วยกันเสียที่นี่ล่ะ ?”แล้ววันรุ่งขึ้น อาเจียว ก็ออกเดินทางกลับบ้าน ก่อนตะวันตกดินโดยไม่บอกใครทั้งสิ้น เธอไม่ได้กลับไปตัวเปล่า แต่ได้นำไข่ตัวไหมกับเมล็ดใบหม่อน โรยเป็นระยะไปตามทางเดินด้วย โดยตั้งใจจะให้มันเป็นที่สังเกต ซึ่งเธอจะพาน้องชายเดินทางกลับมายังบ้านสีขาวนี้ได้ถูกต้อง












เมื่ออาเจียวกลับมาถึงบ้าน สิ่งที่เธอพบคือพ่อที่กลายเป็นคนแก่และน้องชายที่โตเป็นหนุ่มแล้ว “แกไปอยู่ที่ไหนมา ตั้งสิบห้าปี ?เกิดอะไรขึ้นกับแก หรือ” พ่อถาม เช็ดน้ำตาที่ไหลอย่างยินดี อาเจียวเล่าให้พวกเขาฟังถึงเรื่องที่เธอได้พบเห็น หุบเขาลึกลับ สุภาพสตรีชุดขาว ตัวหนอนสีขาวที่เรียกกันว่า “แมลงสวรรค์” และยังนำไข่หนอนออกมาอวดพ่ออีกด้วย หลังจากนั้น ชาวบ้านต่างเชื่อกันว่า อาเจียวได้พบกับพระเจ้า ผู้ต้องการสอนคนหังโจวให้รู้จักการเลี้ยงไหมโดยผ่านตัวเธอ



วันรุ่งขึ้น อาเจียวอยากจะกลับไปยังหุบเขาลึกลับนั้นอีก แต่ปรากฏว่าเมล็ดหม่อนที่เธอเหวี่ยงมาตามทางนั้นได้กลายเป็นต้นหม่อนไปหมดแล้ว เธอเดินตามเส้นทางเดิมไปจนถึงปากถ้ำก็หาได้พบปากถ้ำที่เคยพบไม่ มีแต่เจ้านกสร้อยคอสีขาวตัวเดิมที่ยังคงบินวนอยู่เหนือหัวร้องว่า “อาเจียวขโมยสมบัติ อาเจียวขโมยสมบัติ”



แล้วเจ้านกนั้นก็หายลับไปหลังเขาอาเจียวสำนึกผิดว่าเธอได้ ขโมยไข่ตัวไหมกับเมล็ดหม่อนจากหุบเขาเร้นลับ แต่เธอก็ไม่รู้จะทำอย่างไรนอกจากกลับบ้าน อย่างไรก็ตามการสูญเสียสวรรค์บนดินของอาเจียวกลับกลายมาเป็นโชคมหาศาล ของชาวหังโจว



เดี๋ยวนี้ เมืองหังโจวได้เป็นศูนย์กลางของการผลิตผ้าไหมในจีน อาเจียวได้ชื่อว่าเป็นผู้นำ “แมลงสวรรค์”มาสู่ หังโจว และสตรีชุดขาวในหุบเขาเร้นลับ ซึ่งไม่มีใครรู้จักชื่อได้รับขนานนามว่าเป็น “มารดาแห่งผ้าไหม”



วิวัฒนาการทอผ้าไหมไทย








แม้ว่าเราจะไม่มีหลักฐานที่แน่ชัดมาใช้อธิบายเรื่องจุดกำเนิดของการทอผ้าในประเทไทยก็ตาม แต่ก็อาจจะกล่าวได้ว่า การทอผ้าเป็นงานศิลปหัตถกรรมที่เก่าแก่ที่สุดอย่างหนึ่งที่มนุษย์ในสมัยโบราณที่อาศัยอยู่ในดินแดนนี้รู้จัก ทำขึ้นตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์



ภาพเขียนสีบนผนังถ้ำเช่นที่ เขาปลาร้า จังหวัดอุทัยธานี อายุประมาณ ๒,๕๐๐ ปีมาแล้ว มีรูปมนุษย์โบราณกับสัตว์เลี้ยง เช่น ควาย และสุนัข แสดงว่ามนุษย์ยุคนั้นรู้จักเลี้ยงสัตว์แล้ว ลักษณะการแต่งกายของมนุษย์ยุคนั้นดูคล้ายกับจะเปลือยท่อนบน ส่วนท่อนล่างสันนิษฐานว่าจะ ใช้หนังสัตว์ หรือผ้าหยาบๆ ร้อยเชือกผูกไว้รอบๆ สะโพก บนศีรษะประดับด้วยขนนก



จากภาชนะเครื่องปั้นดินเผาโบราณที่พบ บริเวณถ้ำผี จังหวัดแม่ฮ่องสอน อายุประมาณ ๗,๐๐๐ – ๘,๐๐๐ ปีมาแล้ว พบว่ามีการตกแต่งด้วยรอยเชือก และรอยตาข่ายทาบ ทำให้เราสันนิษฐานว่า มนุษย์น่าจะรู้จักทำเชือกและตาข่ายก่อน โดยนำพืชที่มีใยมาฟั่นให้เป็นเชือก แล้วนำเชือกมาผูก หรือถักเป็นตาข่าย จากการถักก็พัฒนาขึ้นมาเป็นการทอด้วยเทคนิคง่ายๆ แบบการจักสานคือนำเชือกมาผูกกับไม้หรือยึดไว้ให้ด้ายเส้นยืนแล้วนำเลือกอีกเส้นหนึ่งมาพุ่งขัดกับด้ายเส้นยืน เกิดเป็นผืนผ้าหยาบๆ ขึ้น เหมือนการขัดกระดาษหรือการจักสาน เกิดเป็นผ้ากระสอบแบบหยาบๆ



เราพบหลักฐานที่สำคัญทางโบราณคดีที่บริเวณบ้านเชียง จังหวัดอุดรธานี เช่น พบกำไล สำริด ซึ่งมีสนิม และมีเศษผ้าติดอยู่กับคราบสนิมนั้น นักวิทยาศาสตร์อธิบายว่า สนิมเป็นตัวกัดร่อนโลหะซึ่งเป็นอนินทรีย์วัตถุ แต่กลับเป็นตัวอนุรักษ์ผ้าซึ่งเป็นอินทรียวัตถุไว้ไม่ให้เสื่อมสลายไปตามกาลเวลา ที่แหล่งบ้านเชียงนี้ เรายังพบ แวดินเผาซึ่งเป็นอุปกรณ์การปั่นด้ายแบบง่าย ๆ และพบลูกกลิ้งแกะลายสำหรับใช้ทำลวดลายบน ผ้าเป็นจำนวนมาก จึงทำให้พอจะสันนิษฐานได้ว่า มนุษย์อาศัยอยู่ในบริเวณบ้านเชียงเมื่อ ๒,๐๐๐-๔,๐๐๐ ปีมาแล้ว รู้จักการปั่นด้าย ทอผ้า ย้อมสี และพิมพ์ลวดลายลงบนผ้าอีกด้วย



















ผ้าในงานหัตถกรรมพื้นบ้าน








ผ้าในงานหัตถกรรมพื้นบ้านโดยทั่วไปมีอยู่สองลักษณะคือ ผ้าพื้นและผ้าลาย ผ้าพื้นได้แก่ ผ้าที่ทอเป็นสีพื้นธรรมดาไม่มีลวดลาย ใช้สีตามความนิยม ในสมัยโบราณสีที่นิยมทอกันคือ สีน้ำเงิน สีกรมท่าและสีเทา ส่วนผ้าลายนั้นเป็นผ้าที่มีการประดิษฐ์ลวดลายหรือดอกดวงเพิ่มขึ้นเพื่อความงดงาม มีชื่อเรียกเฉพาะตามวิธี เช่น ถ้าใช้ทอ (เป็นลายหรือดอก) ก็เรียกว่าผ้ายก ถ้าทอด้วยเส้นด้ายคนละสีกับสีพื้น เป็นลายขวาง และตาหมากรุกเรียกว่า ลายตาโถง ถ้าใช้เขียน หรือพิมพ์จากแท่งแม่พิมพ์โดยใช้มือกด ก็เรียกว่า ผ้าพิมพ์ หรือผ้าลายอย่าง ซึ่งเป็นผ้าพิมพ์ลาย ที่คนไทยเขียนลวดลายเป็นตัวอย่างส่งไปพิมพ์ที่ต่างประเทศ เช่น อินเดีย



ผ้าเขียนลายส่วนมากเขียนลายทอง แต่เดิมชาวบ้านรู้จักทอแต่ผ้าพื้น (คือผ้าทอพื้นเรียบไม่ยกดอกและมีลวดลาย) ส่วนผ้าลาย (หรือผ้ายก) นั้น เพิ่งมารู้จักทำขึ้นในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น หรือสมัยอยุธยาตอนปลาย สันนิษฐานว่าได้แบบอย่างการทอมาจากแขกเมืองไทรบุรีซึ่ง ถูกเจ้า-เมืองนครกวาดต้อนมา เมื่อครั้งที่เมืองไทรบุรีคิด ขบถประมาณ พ.ศ. ๒๓๕๔ อย่างไรก็ตาม ผ้าทั้งสองประเภทนี้ใช้วิธีการทอด้วยกันทั้งสิ้นวัสดุที นิยมนำมาใช้ทอคือ ฝ้าย ไหมและขนสัตว์ (แต่ส่วนมากจะใช้ฝ้ายและไหม) ชาวบ้านจะปลูกฝ้ายเป็นพืชไร่และเลี้ยงไหมกัน ฤดูที่ปลูกฝ้ายกันคือ ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม จนถึงเดือนพฤศจิกายน ซึ่งกินเวลาถึง ๖ เดือน ต้นฝ้ายจึงจะแก่ เมื่อ เก็บฝ้ายมาแล้วจึงนำมาปั่นและกรอให้เป็นเส้น ม้วนเป็นหลอด เพื่อที่จะนำไปเข้าหูกสำหรับ ทอต่อไป ชาวบ้านรู้จักทอผ้าขึ้นใช้เอง หรือสำหรับแลกเปลี่ยนกับเครื่องอุปโภคบริโภคที่จำเป็นจะต้องใช้ภายในครอบครัว การทอนี้มีมาแต่โบราณกาลแล้ว ไม่มีใครทราบว่ามีมาแต่เมื่อไร และได้แบบอย่างมาจากใคร ถ้าจะพิจารณาดูตาม หลักฐานทางประวัติศาสตร์แล้ว ในสมัยศรีวิชัย(ราวพุทธศตวรรษที่ ๑๓) ชาวบ้านคงรู้จักการทอผ้าแล้วเพราะว่าในสมัยนั้นเป็นสมัย ที่ได้มีการติดต่อการค้าและรับเอาศิลปะและวัฒนธรรมมาจากชนชาติที่เจริญกว่า เช่น จีน อินเดีย อาหรับ และเปอร์เซีย ชนต่างชาติดังกล่าวคงได้มาถ่ายทอดไป








การทอผ้านี้มีอยู่ในทุกภาคของประเทศหลักการและวิธีการนั้นคล้ายคลึงกันทั้งหมด แต่อาจมีข้อปลีกย่อยแตกต่างกันบ้าง การทอนี้ทำด้วย มือโดยตลอดใช้เครื่องมือเครื่องใช้แบบง่ายๆซึ่งต้องอาศัยความชำนาญและความประณีต นับตั้งแต่การเตรียมเส้น การย้อมสี และการทอเป็นผืนเครื่องมือทอผ้าเรียกว่า "กี่" มี ๒ ชนิด คือ กี่ยก กับกี่ฝัง กี่ยกเป็นเครื่องมือที่ยกเคลื่อนที่ได้ ใช้ตั้งบนพื้น ถอดและประกอบได้ง่าย ทำด้วยไม้เนื้อแข็ง มีขนาดเท่ากับกี่ฝัง แต่ทำตั้งสูง กว่า เพื่อให้เท้าถีบกระตุกด้ายในเวลาทอผ้า สะดวกไม่ติดพื้น ส่วนกี่ฝังคือเครื่องทอผ้าที่ใช้เสาปักฝังลงดินยึดอยู่กับที่ เคลื่อนย้ายไม่ได้สร้างกันไว้ตามใต้ถุนบ้าน เป็นเครื่องทอผ้าชนิด ที่นิยมใช้กันมาก



การทอผ้าที่ชาวบ้านทำกันนั้นต้องอาศัยความจำและความชำนาญเป็นหลัก เพราะไม่มีเขียนบอกไว้เป็นตำรา นอกจากนี้แล้วยังพยายามรักษารูปแบบและวิธีการเอาไว้อย่างเคร่งครัด จึงนับว่าเป็นการอนุรักษ์ศิลปกรรมแขนงนี้ไว้อีกด้วย



















ประเภทของผ้าไหม







ผ้าพื้นบ้านที่นิยมใช้กันมี ๒ ประเภท คือ



ผ้าที่ใช้ในชีวิตประจำวัน



ซึ่งเรียกกันว่าผ้าพื้นนั้นไม่มีความประณีตและสวยงามเท่าใดนัก แต่มีความทนทาน ทอขึ้นอย่างง่ายๆ มีสีและ ลวดลายบ้าง เช่น ผ้าพื้น ผ้าตาโถง ผ้าโสร่ง ผ้าแถบ ผ้าซิ่น และผ้าขาวม้า ซึ่งชาวบ้านนิยมใช้ติดตัวมาตั้งแต่สมัยโบราณ ปรากฏอยู่ในหลักศิลาจารึกหลักที่ ๔๔ แห่งแผ่นดินสมเด็จพระบรม ราชาธิราชที่ ๑ (พ.ศ. ๑๙๑๖)



ผ้าที่ใช้ในงานพิธีต่าง ๆ












ในสังคมไทยสมัยก่อนถือว่าการทอผ้าเป็นงานของผู้หญิง เพราะต้องใช้ความประณีตและละเอียดอ่อน ใช้เวลานานกว่าจะทอผ้าชนิดนี้เสร็จแต่ละผืน ผู้หญิง ซึ่งในสมัยนั้นต้องอยู่กับเหย้าเฝ้ากับเรือนอยู่แล้ว จึงมีโอกาสทอผ้ามากกว่าผู้ชาย อีกประการ หนึ่ง ค่านิยมของสมัยนั้นยกย่องผู้หญิงที่ทอผ้า เก่ง เพราะเมื่อโตเป็นสาวแล้วจะต้องแต่งงานมีครอบครัวไปนั้น ผู้หญิงจะต้องเตรียมผ้าผ่อนสำหรับออกเรือน ถ้าผู้หญิงคนใดทอผ้าไม่เป็นหรือไม่เก่งก็จะถูกตำหนิ ชายหนุ่มจะไม่สนใจ เพราะถือว่าไม่มีคุณสมบัติที่เหมาะสมจะเป็น แม่บ้าน เมื่อมีงานเทศกาลสำคัญต่างๆ ชาวบ้านจะพากันแต่งตัวด้วยผ้าทอเป็นพิเศษไปอวดประชันกัน ผ้าชนิดนี้จะทอขึ้นด้วยฝีมือประณีตเช่นเดียวกัน มีสีสัน และลวดลาย ดอกดวงงดงามเป็นพิเศษ ผ้าบางผืนจะทอกันเป็นเวลาแรมปีด้วยใจรักและศรัทธา เช่น ผ้าลายจก ผ้าตีนจก ผ้าตาด ผ้ายก และผ้าปูม เป็นต้น



ภาพรวมการทอผ้าในประเทศไทย
ปัจจุบันการทอผ้ายังคงเป็นมรดกทางวัฒนธรรม เป็นศิลปะที่มีอยู่ทั่วทุกภูมิภาคของประเทศไทย หลายแห่งยังคงลวดลาย และสัญลักษณ์ดั้งเดิมเอาไว้ โดยเฉพาะชุมชนที่มีเชื้อสายชาติพันธุ์บางกลุ่ม ยังคงเอกลักษณ์เฉพาะกลุ่มเอาไว้จนถึงทุกวันนี้ โดย สามารถแบ่งผ้าพื้นเมืองของกลุ่มชนตามภาคต่าง ๆ ได้ดังนี้



๑.การทอผ้าในภาคเหนือแถบล้านนาไทย (จังหวัดเชียงราย พะเยา ลำพูน ลำปาง แพร่ น่าน เชียงใหม่ และแม่ฮ่องสอน) ประกอบด้วยชาวไทยวน และไทลื้อ ซึ่งในปัจจุบันยังรักษาวัฒนธรรมใน รูปแบบและลวดลายที่สืบทอดกันมา โดยเฉพาะการทอซิ่นตีนจก ผ้าขิด และผ้าที่ใช้เทคนิค “เกาะ” เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีการทอผ้าไหมยกดอก และการทอซิ่นไหมต่อตีนจกยกดิ้นเงินดิ้นทอง รวมถึงผ้าที่เป็น เอกลักษณ์ของแต่ละจังหวัด เช่น ผ้าม่อฮ่อมที่ จ.แพร่ และผ้าลายน้ำไหล จ.น่าน เป็นต้น
๒. การทอผ้าในภาคเหนือตอนล่างและภาคกลาง (จังหวัดพิษณุโลก พิจิตร อุตรดิตถ์ และ สุโขทัย จังหวัดอุทัยธานี ชัยนาท สุพรรณบุรี สระบุรี ลพบุรีนครปฐม ราชบุรี เพชรบุรี ฯลฯ) ส่วนใหญ่ เป็นกลุ่มชนชาวไทยวน และชาวไทยลาว เช่น พวน โซ่ง ผู้ไท ครั่ง ซึ่งอพยพไปตั้งถิ่นฐานอยู่ในช่วงต่าง ๆ ของประวัติศาสตร์ไทย คนไทยเหล่านี้ยังคงรักษาวัฒนธรรมและเอกลักษณ์เฉพาะถิ่นไว้ได้โดย เฉพาะ วัฒนธรรมการทอผ้าของผู้หญิงที่ใช้เทคนิคการทำตีนจก และขิด เพื่อตกแต่งเป็นลวดลายบนผ้าที่ใช้นุ่งในเทศกาลต่างๆหรือใช้ทำที่นอนหมอน ผ้าห่ม ผ้าเช็ดหน้า ผ้าขาวม้า ฯลฯ
๓. การทอผ้าในภาคอีสาน กลุ่มคนไทยเชื้อสายลาวเป็นกลุ่มชนใหญ่ของภาคอีสาน กระจายกันอยู่ตามจังหวัดต่างๆ และมีวัฒนธรรมการทอผ้าอันเป็นประเพณีของผู้หญิงที่สืบทอดกันมาช้านานเกือบทุกชุมชน แต่ละกลุ่ม แต่ละเผ่า ก็จะมีลักษณะและลวดลายการทอผ้าที่เป็นเอกลักษณ์ของตนเอง โดยเฉพาะผ้ามัดหมี่ ผ้าแพรวา ผ้าขิด ผ้าปูม และผ้าไหมหางกระรอก
๔.การทอผ้าในภาคใต้ ภาคใต้มีชื่อเสียงในเรื่องของการทอผ้ายก ทั้งยกฝ้าย ยกไหม ยกดิ้นเงินดิ้นทอง สำหรับลวดลายยังคงอนุรักษ์ลวดลายดั้งเดิมไว้ เช่น ลายราชวัตร ลายดอกพิกุล ลายลูกแก้ว ลายก้านแย่ง และลายรูปสัตว์ต่าง ๆ นอกจากนี้ยังมีการประยุกต์สร้างสรรค์ลวดลายที่แปลกใหม่ และสวยงามขึ้น สำหรับแหล่งทอผ้ายกที่สำคัญในภาคใต้ คือ จังหวัดนครศรีธรรมราช สุราษฏร์ธานี สงขลา และตรัง



ลวดลายผ้าไหมจังหวัดอุบลราชธานี



งานหัตถกรรมพื้นบ้านของภาคอีสานที่ทำสืบทอดกันมานานหลายชั่วอายุคนนั่นคือ การทอผ้า หรือ " ต่ำหูก" ในภาษาอีสาน จากหลักฐานทางโบราณคดีบริเวณบ้านเชียง จังหวัดอุดรธานี พบกำไลสำริด ซึ่งเป็นอุปกรณ์การปั่นด้ายแบบง่ายๆ รวมถึงการพบลูกกลิ้งแกะลายสำหรับทำลวดลายบนผ้าเป็นจำนวนมาก ทำให้นักโบราณคดีสันนิษฐานได้ว่า ผู้คนอาศัยในบริเวณบ้านเชียงเมื่อ ประมาณ ๓,๐๐๐ - 4,000 ปี มาแล้ว รู้จักการปั่นด้าย ทอผ้า ย้อมสี และพิมพ์ลวดลายลงบนผ้า (สารานุกรม) การทอผ้าในภาคอีสานในอดีตถือเป็นกิจวัตรประจำวันของผู้หญิงทุกคนที่จะต้องทำนอกเหนือไปจากหน้าที่ประจำวันได้แก่ การทำนา เลี้ยงลูก ผ้าทอที่เป็นเอกลักษณ์และมีลักษณะเฉพาะที่เด่นที่สุดนั้นได้แก่ ผ้าทอที่เป็นผ้าไหม กับผ้าทอที่เป็นฝ้าย โดยมีกรรมวิธีการผลิตและการให้ลวดลายสีสันบนผืนผ้า แตกต่างกันไปตามขนบธรรมเนียมประเพณีความเชื่อ วัฒธนธรรมในการดำรงชีวิต และค่านิยมในสังคมที่สืบทอดกันมาจากกลุ่มชนต้นกำเนิดหลายๆ กลุ่ม ทั้งนี้ก็เนื่องจากในแถบภาคอีสานมีกลุ่มชนอาศัยอยู่หลายกลุ่ม กระจัดกระจายกันอยู่ทั่วไป กลุ่มชนที่อยู่ในเขตจังหวัดนครพนม สกลนคร และกาฬสินธุ์ เป็นกลุ่มชนที่มีเชื้อสายผู้ไทย หรือภูไท กลุ่มชนที่อยู่ในเขตจังหวัดอุบลราชธานี ยโสธร ร้อยเอ็ด มุกดาหารหรือมหาสารคาม เป็นกลุ่มที่มีแนวโน้มไปทาง จำปาศักดิ์ และกลุ่มคนไทยที่มีเชื้อสายลาวนี้เองเป็นกลุ่มชนที่มีความสำคัญในการผลิตผ้าพื้นเมืองอีสาน เพราะเป็นกลุ่มชนที่มีวัฒนธรรมการทอผ้า สืบทอดต่อกันมาจนถึงปัจจุบัน (เรณู คุปตัษเฐียร, ๒๕๓๔ : หน้า ๑)



ผ้าทอของชาวอีสานที่มีเอกลักษณ์และลักษณะเฉพาะถิ่นเด่นที่สุดซึ่งแบ่งออกตามชนิดของวัตถุดิบมีสองชนิด คือ ผ้าฝ้ายและผ้าไหม ผ้าสองชนิดนี้ นอกเหนือไปจากการใช้วัตถุดิบที่ทอต่างกันแล้ว ยังมีเทคนิคการทอและลวดลายที่แตกต่างกันออกไปอีกมากมายหลายแบบ เช่น ผ้ามัดหมี่ ผ้าขิด ผ้าหางกระรอก ผ้าตีนจก ผ้าแพรวาเป็นต้น (วิบูลย์ ลี้สุวรรณ , ๒๕๓๗ : ๑๓๙) ลักษณะและลวดลายการทอผ้าแต่ละแบบดังกล่าวมีลักษณะเป็นของตัวเอง หรือมีเอกลักษณ์อย่างชัดเจน



ผ้าไหม



การทำผ้าไหม มีกรรมวิธียากกว่าการทำผ้าฝ้าย นับตั้งแต่การเลี้ยงไหม ซึ่งต้องมีความระมัดระวังเป็นพิเศษ ไม่ให้ตัวไหมถูกแสงสว่างหรือความร้อนมากไม่เช่นนั้นแล้วตัวไหมจะตาย ผ้าไหมที่นิยมทอกันมากสมัยโบราณคือ ผ้าซิ่นหมี่ ผ้าโสร่ง และผ้าขาวม้า



ลวดลายผ้าไหม



ลวดลายและสัญลักษณ์ในผ้าไทยมีมากมายบางลายก็มีชื่อเรียกสืบต่อกันมาหลายชั่วอายุคน บางชื่อก็เป็นภาษาท้องถิ่น ไม่เป็นที่เข้าใจของคนไทยในภาคอื่นๆ บางลายก็เป็นชื่อที่เรียกกันมาโดยไม่รู้ประวัติ รวมถึงบางลายก็มีการคิดค้นขึ้นใหม่ จึงได้ชื่อใหม่ๆ นอกจากนี้บางลายก็เรียกชื่อตามศิลปะจิตรกรรมฝาผนังและสถาปัตยกรรม หรือบางทีก็มีกล่าวถึงในตำนานพื้นบ้าน และในวรรณคดีเป็นต้น บางลวดลายก็เป็นคติร่วมกับความเชื่อสากล และปรากฏอยู่ในศิลปะของหลายชาติ เช่น ลายขอ หรือลายก้นหอย ซึ่งนับว่าเป็นลายเก่าแก่โบราณของหลายๆ ประเทศทั่วโลก หากสังเกตและศึกษาเปรียบเทียบก็จะเข้าใจลวดลาย สัญลักษณ์ ในผ้าพื้นเมืองของไทยได้มากขึ้นและมองเห็นคุณค่าลึกซึ้งขึ้น จาการค้นคว้าพบว่าในสารานุกรมไทย ได้ให้รายละเอียดลวดลายต้นแบบ สามารแบ่งออกเป็น ๔ ลาย ดังนี้
๑.ลายเส้นตรงหรือเส้นขาด ในทางตรงยาวหรือทางขวาง เส้นเดียวหรือหลายเส้นขนานกัน ลายเส้นตรงทางขวางเป็นลายผ้าที่ใช้กันทั่วไปในแถบล้านนาไทยมาแล้วแต่โบราณ จะเห็นได้จากจิตรกรรมวัดภูมินทร์ จังหวัดน่าน และวิหารลายดี วัดพระสิงห์จังหวัดเชียงใหม่
ลายเส้นตรงทางยาวมักพบในผ้านุ่งของคนไทยกลุ่มลาวโซ่ง ลาวพวน เป็นต้น ในภาคอีสานลายเส้นตรงยาวสลับกับลายอื่นๆ จะปรากฎอยู่ในผ้ามัดหมี่ทั้งไหมและฝ้าย และบ่อยครั้งเราจะพบผ้ามัดหมี่อีสานเป็นลายเส้นต่อที่มีลักษณะเหมือนฝนตกเป็นทางยาวลงมา หรือที่ประดับอยู่ในผ้าตีนจกเป็นเส้นขาดเหมือนฝนตก หรือลายเส้นขาดขวางเหมือนเป็นทางเดินของน้ำ เป็นต้น
๒. ลายฟันปลา ลายนี้ปรากฏอยู่ตามเชิงผ้าของตีนจกและผ้าขิด ตลอดจนเป็นลายเชิงของซิ่นมัดหมี่ของผ้าที่ทอในทุกๆ ภาคของประเทศไทย ชาวบ้านทางภาคอีสานเรียกว่า "ลายเอี้ย" ลายฟันปลา อาจจะปรากฏในลักษณะทางขวางหรือทางยาวก็ได้ บางจะพบผ้ามัดหมี่ที่ตกแต่งด้วยลายฟันปลาทั้งผืนก็มี นอกจากนี้ผ้าของชาวเขาเผ่าม้งทางภาคเหนือ จะใช้ลายฟันปลาประดับผ้าอยู่บ่อยๆ
๓.ลายสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูนหรือลายกากบาท เกิดจากการขีดเน้นตรงทางเฉียงหลายๆ เส้นตัดกันทำให้เกิดกากบาท หรือตารางสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูนหลายๆ รูปติดต่อกัน ลายนี้พบอยู่บนผ้าจก ผ้าขิด และผ้ามัดหมี่ โดยทั่วไปทุกภาคของไทย ในลาวและอินโดนีเซีย และบนพรมตะวันออกกลาง ยังพบบนลวดลายผ้าของชาวเขาเผ่าม้ง กระเหรี่ยง ในประเทศไทย และประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีนด้วย
๔. ลายขดเป็นวงเหมือนก้นหอย หรือตะขอ ลายนี้พบอยู่ทั่วไปเช่นกัน บนผ้าจก ผ้าขิดและผ้ามัดหมี่ของทุกภาค ชาวบ้านภาคเหนือและภาคอีสานเรียกว่า "ลายผักกูด" ซึ่งเป็นชื่อของพืชตระกูลเฟิร์นชนิดหนึ่งในซาราวัคของประเทศมาเลเซีย ก็เรียกว่า ลาย "ผักกูด" เช่นกัน
จากลวดลายต้นแบบข้างต้น ได้มีการพัฒนาประดิษฐ์เสริมต่อจนเป็นรูปร่างที่ชัดเจนขึ้นจนผู้ดูสามารถเข้าใจความหมายที่ต้องการสื่อได้มี ๔ แบบ ดังนี้
๑. จากเส้นตรง / เส้นขาด ได้มีการพัฒนาขึ้นมาเป็นลายที่เกี่ยวกับน้ำและความอุดมสมบูรณ์ต่างๆ ในชุมชนเกษตรกรรม
๒. ลายฟันปลา ได้มีการพัฒนาเป็นรูปต่างๆ
๓. กากบาทและขนมเปียกปูน ได้มีการพัฒนาเป็นรูปลายต่างๆ
รูปขนมเปียกปูนภายในบรรจุรูปดาว ๘ เหลี่ยม และภายในของดาว ๘ เหลี่ยม มักจะมีกากบาทเส้นตรงอยู่ หรือบางทีก็ย่อลงเหลือขนมเปียกปูน กากบาทนั้นเป็นลายที่พัฒนาที่พบเห็นบ่อยๆ ในตีนจก และขิดของล้านนา และในมัดหมี่ของภาคอีสาน นอกจากนี้ยังพบในผ้าของหลายประเทศ เชื่อกันว่าลวดลายดังกล่าวเป็นสัญลักษณ์ของดวงอาทิตย์หรือโคมไฟ ในภาคอีสานเรียกลายนี้ในผ้ามัดหมี่ว่า ลายโคม
ลายนี้มีลักษณะขนมเปียกปูนผสมกับลายขอหรือขนมเปียกปูน มีขายื่นออกมา ๘ ขา พบในผ้าตีนจก หรือขิด และมัดหมี่เรียกชื่อกันต่างๆ เช่นลายแมงมุม หรือลายปลาหมึก บางที่ลายนี้อาจจะมีขาเพียง ๔ ขา เรียกว่า ลายปู ปรากฏบนผ้ายกดอกหรือผ้ามัดหมี่ ซึ่งบางแห่งนิยมเรียกว่า ลายดอกแก้วหรือลายดอกพิกุล
๔. ลายตัวขอหรือกันหอย ได้มีคนนำมาเป็นลายต่างๆ เช่น ลายนี้ปรากฏอยู่ทั่วไปบนผ้าจก และขิดของไทยลื้อในภาคเหนือและบนลายมัดหมี่ของภาคอีสาน มักจะเรียกว่า ลายขอ หรือขอนาคเพราะต่อๆ มาพัฒนาเป็นลายนาคเกี้ยว หรือลายนาคชูสน เป็นต้น
ลายนี้ปรากฏบนผ้าตีนจกขอบล้านนาเกือบทุกผืนผ้ามักจะเข้าใจว่าเป็นนก หรือหงส์หรือห่าน และมักจะปรากฏอยู่เป็นคู่ๆ โดยมีลายเหมือนฝนตกอยู่ข้างนั้น และมีลายภูเขาหรือลายน้ำไหลอยู่ข้างล่างด้วยลายนกนี้ยังปรากฏบนผ้าของไทยลื้อ เช่นผ้าเช็ดหน้า เป็นต้น
ลวดลายและสัญลักษณ์ต่างๆ ที่ปรากฏอยู่ในศิลปะผ้าทอไทยนั้นเชื่อกันว่ามีความเชื่อมโยงกับคติความเชื่อของคนไทยที่สืบทอดกันมาแต่โบราณ เราอาจศึกษาเปรียบเทียบลวดลายสัญลักษณ์เหล่านี้กับสัญลักษณ์อย่างเดียวกันที่ปรากฏอยู่ในศิลปะประเภทอื่นๆ เช่นในจิตรกรรม ประติมากรรม สถาปัตยกรรม และแม้แต่ในตำนานพื้นบ้านที่เล่าขานสืบต่อกันมา หรือในวรรณกรรมต่างๆ ลวดลายที่เชื่อมโยงกับความเชื่อพื้นบ้านไทยอย่างเห็นได้ชัด มีดังนี้



สัญลักษณ์งูหรือนาค งูหรือนาคปรากฏอยู่ในลายผ้าพื้นเมืองของคนไทยกลุ่มต่างๆเกือบทุกภูมิภาคของประเทศ โดยเฉพาะในล้านนาและในอีสาน นอกจากนี้ยังพบในศิลปะของกลุ่มคนที่พูดภาษาตระกูลไทย ที่อาศัยอยู่นอกดินแดนของไทยในปัจจุบัน เช่น ในสิบสองปันนา ในลาว อีกด้วย
ในแถบลุ่มแม่น้ำโขง คนไทยและคนลาวต่างมีความเชื่อสืบทอดกันมา เรื่องพญานาค ซึ่งอาศัยอยู่ที่เมืองบาดาลใต้แม่น้ำโขง จนกระทั่ง ทุกวันนี้ผู้คนในแถบนั้นก็ยังเชื่อว่าเวลามีงานบุญประเพณี เช่นงานไหลเรือไฟ พญานาคก็จะขึ้นมาเล่นลูกไฟด้วย ดังที่มีผู้พบเห็นลูกไฟขึ้นจากลำน้ำในช่วงเทศกาลงานไหลเรือไฟเป็นประจำเกือบทุกปี




สัญลักษณ์นกหรือห่านหรือหงส์ ห่านหรือหงส์เป็นสัญลักษณ์สำคัญที่ปรากฏอยู่ในศิลปะผ้าทอพื้นบ้านในภาคเหนือของไทยเป็นส่วนใหญ่ นอกจากนี้ก็มีปรากฏมากในผ้าทอมือของลาวสิบสองปันนาและในหมู่พวกคนไทยในเวียดนาม
ในสถาปัตยกรรมล้านนาและล้านช้างจะพบนกหรือหงส์เป็นองค์ประกอบที่สำคัญประดับอยู่บนหลังคาโบสถ์คู่กับสัญลักษณ์นาค หรือบางแห่งก็มีหงส์ประดับอยู่ตามจุดต่างๆ ในวัดในสิบสองปันนา สัญลักษณ์นกเหนือหงส์หรือนกยูง จะปรากฏอยู่ทั่วไปทั้งในจิตรกรรม สถาปัตยกรรม และบนผืนผ้านกยูงเป็นสัญลักษณ์ที่รัฐบาลจีนปัจจุบัน ได้นำมาใช้เป็นสัญลักษณ์ของยูนาน และได้มีการประดิษฐ์นาฏลีลาสมัยใหม่ซึ่งใช้แสดงเป็นสัญลักษณ์ของชาวไทลื้อในสิบสองปันนา เรียกว่า ระบำนกยูง



การทอลายขิด คือการคัดเก็บยกเส้นด้ายยืนพิเศษ ให้เกิดเป็นลวดลาย แล้วสอดเส้นด้ายพุ่งไปตลอดแนวของความกว้างของหน้าผ้า ทำให้เกิดลายขิดในแต่ละแถวเป็นลายขิดสีเดียวกัน



การยก เป็นเทคนิคการทอ ยกลายให้เห็นเด่นชัด มีลักษณะคล้ายกับการทอลายขิด แต่ใช้เส้นพุ่งพิเศษ เช่น ไหม ดิ้นเงิน ดิ้นทอง มีชายมีเชิง ซึ่งขั้นตอนยุ่งยากกว่าผ้าทอลายขิดมาก



การจก เป็นเทคนิคการทอลวดลายบนผืนผ้า ด้วยวิธีการเพิ่มด้ายพุ่งพิเศษเข้าไปขณะที่ทอเป็นช่วงๆ ไม่ติดต่อกันตลอดหน้ากว้างของผ้ากระทำโดยใช้ไม้หรือขนเม่นหรือนิ้วมือ ยกหรือจกด้วยเส้นยืนขึ้น แล้วสอดเส้นพุ่งพิเศษต่อไปตามจังหวะของลวดลาย สามารถสลับสีได้หลากหลายสี



การทอลายน้ำไหล เป็นเทคนิคการทอแบบลายขัดธรรมดา แต่ใช้ด้ายหลากสีพุ่งเกาะเกี่ยวกันเป็นช่วงๆ ให้เกิดจังหวะของลายน้ำไหล เป็นลักษณะเฉพาะของชาวเมืองน่าน เรียกกรรมวิธีการทอนี้ว่า "ล้วง" แต่ชาวไทลื้อ อำเภอเชียงของและเชียงคำ จังหวัดเชียงราย เรียกว่า "เกาะ" เทคนิคนี้อาจดัดแปลงพัฒนาเป็นลายอื่นๆ เรียกว่าลายผักแว่น ลายจรวด ฯลฯ เป็นต้น



การยกมุก เป็นเทคนิคการทอ โดยใช้เส้นยืนพิเศษเพิ่มบนกี่ทอผ้าลายยกบนผ้าเกิดจากการใช้ตะกอลอยยกด้ายยืนพิเศษ ลวดลายที่เกิดจากเทคนิคนี้คล้ายกันมากกับลวดลายที่เกิดจากเทคนิค ขิด จก แทบจะแยกไม่ได้เลยสำหรับผู้ที่ไม่เข้าใจเรื่องเทคนิคการ



ทอผ้าที่ลึกซึ่ง ชาวไทยพวนที่ตำบลหาดเสี้ยว จังหวัดสุโขทัย และที่อำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์ ใช้เทคนิคนี้ในการทอส่วนที่เป็นตัวซิ่น บางครั้งอาจจะนำเชิงซิ่นมาต่อเป็นตีนจกเรียกว่า ซิ่นมุก



การมัดหมี่ เป็นเทคนิคการมัดเส้นพุ่งหรือเส้นยืนให้เป็นลวดลายด้วยเชือกกล้วยหรือเชือกฟางก่อนนำไปย้อมสี แล้วกรอด้ายให้เรียงตามลวดลาย ร้อยใส่เชือกแล้วนำมาทอ จะได้ลายมัดหมี่ที่เป็นทางกว้างของผ้า เรียกว่า มัดหมี่ เส้นพุ่ง ซึ่งเป็นที่นิยมในบ้านเรา มีการทำผ้ามัดหมี่เส้นยืนบ้างในบางจังหวัดเช่นจังหวัดเชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน ราชบุรี เพชรบุรี ส่วนใหญ่เป็นผ้าชาวเขา บางผืนใช้การทอสลับกับลายขิด ซึ่งช่วยเพิ่มความวิจิตรวดงามให้แก่ผืนผ้า



ผ้าขิด เป็นการพัฒนาการของการทอผ้าแพร ซึ่งมีวิธีการสร้างลวดลายที่ยุ่งยากมากกว่าผ้าธรรมดา จะต้องใช้เวลาและความละเอียดอ่อน ประณีตมาก ซึ่งผ้าลายขิดนั้นชาวอีสานถือเป็นของสูง อาจเนื่องมาจากการทอที่ยุ่งยากก็ได้ การใช้ผ้าชนิดนี้ก็ต้องให้เหมาะกับขนบธรรมเนียมชาวอีสานด้วย (พัฒนา กิติอาษา, ๒๕๓๒ : ๑๕-๑๖) ซึ่งมักจะใช้ในพิธีมงคลและในการใช้ผ้าขิดนั้นชาวอีสานใช้ผ้าชิดแต่งกาย เฉพาะส่วนบน ของร่างกาย เหนอเอวขึ้นไป ใช้ในพิธีมงคล ทำหมอน ผ้าคลุมไหล่ ผ้าโพกศรีษะ ตลอดจนใช้เป็นผ้ากราบพระ เนื่องจากผ้าขิดถือเป็นผลงานตากการทอผ้าที่ละเอียด ประณีต และมีความซับซ้อน จึงทำให้มีความเชื่อว่าเป็นงานวัดความเป็นผู้หญิงของชาวอีสานโดยเฉพาะ



ผ้ามัดหมี่ เป็นผ้าไหมที่มีลวดลายแปลกไปจากผ้าทอชนิดอื่นๆ การทอผ้ามัดหมี่เป็นลวดลายต่างๆ จะต้องเริ่มตั้งแต่การย้อมไหม ให้มีสีสันเป็นลวดลายเสียก่อน แล้วจึงทอให้เกิดเป็นลวดลาย โดยใช้ไหม เส้นยืนเป็นไหมสีเดียวแล้วใช้เส้นไหมพุ่งให้มีสีสันสลับกัน เป็นลวดลายที่ต้องการ การทอผ้ามัดหมี่จึงจำเป็นต้องให้ช่างทอที่มีความสามารถ ความละเอียด ประณีตไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าการทอผ้าขิด







ลายเกิดจากอิทธิพลของพืช



ความเชื่อนี้สามารถแบ่งออกเป็น ๒ ลักษณะคือ ความเชื่อเกี่ยวกับลายที่นำไปบูชาสักการะและความเชื่อทั่วๆ ซึ่งแต่ละลายชาวบ้านมีความเชื่อดังนี้



๑.ลายต้นสน



ใบของต้นสนเป็นใบที่มีความเป็นระเบียบจึงเหมาะสมที่จะนำมาเป็นลายของผ้ามัดหมี่และผ้าขิดได้ ทั้งนี้เพราะชาวบ้านมีความเชื่อว่าชีวิตคนจะต้องเป็นระเบียบ มีวินัยเหมือนกับต้นสนถ้าใครปฏิบัติได้ก็จะทำให้ชีวิตสงบสุข และมีระเบียบในตัวเอง







๒.ลายดอกพุดซ้อน ลายดอกแก้วลายดอกพิกุล ลายดอกจัน ลายดอกบายเย็นและลายดอกสร้อย ลายเหล่านี้เอามาจากดอกไม้ไทยที่เป็นสัญลักษณ์ของความดีและสามารถนำไปถวายพระสงฆ์เพื่อแสดงความรู้จักกาลเทศะและคารวะต่อสิ่งที่เราเคารพนับถือ







๓.ลายดอกผักแว่น ผักแว่นเป็นพืชที่อยู่ตามชายฝั่งของลำน้ำ ห้วย หนอง คลองบึงเพราะผักแว่นเกิดง่าย ผักแว่นนี้เป็นพืชที่ชาวบ้านได้สัมผัสอยู่ทุกวันจึงเกิดความคิดที่จะสร้างงานทางด้านลายของผ้าจึงได้นำเอาดอกผักแว่นหรือผักแว่นนั้นมามัดหมี่และผ้าขิดได้ทั้งนี้เพราะลักษณะของดอกผักแว่นเป็นดอกเล็ก ๆ สวยงาม เกิดเป็นกลุ่มและโตเร็วดังนั้นถ้าใครสามารถมัดตาม ลายได้ก็จะ เป็นคนที่มีความสามัคคีในเอื้อเฟื้อมีความประณีตละเอียดอ่อน



๔.ลายงา งาเป็นพืชล้มลุกชาวบ้านปลูกไว้รับประทานเมล็ดและมีความเชื่อว่าเมล็ดงาเป็นเม็ดเล็กๆที่อยู่รวมกันเป็นกลุ่มก้อนถ้าเราเอาทำเป็นลายบนผืนผ้าคงจะมีความหมายไปในทางที่เป็นมงคลลายงานี้บางทีชาวบ้านเรียกอีกอย่างหนึ่งคือลายดาวกระจาย







๕.ลายหมาก







หมากบกหรือกระบกเป็นไม้ยืนต้นเป็นพืชที่อยู่ใกล้ตัวของคนจึงทำให้ช่างมัดหมี่หรือช่างทอผ้าเกอดความคิดที่จะสร้างสรรค์ลายในลักษณะนี้ขึ้นเพราะต้นกระบกลูกมากที่สุดถ้าใครสามารถนำลูกกระบกมาทำเป็นลายของผ้าก็จะแสดงถึงความอดทนและมีความอุดมสมบูรณ์ต่อไปในภายหน้าจึงทำให้เกิดลายของหมากบกขึ้นบนผ้ามัดหมี่และผ้าขิด



๖.ลายหนามแท่ง ต้นหนามแท่งเป็นพืชชนิดหนึ่งที่ชอบขึ้นตามโคกหรือดง มีหนามแหลมคมมีดอกเล็กคล้ายดอกพิกุล มี ๔ กลีบ หรือมีความหมายว่า ๔ ทิศนั่นเอง หรือหมายถึง ธาตุทั้ง ๔ คือ ดิน น้ำ ลม ไฟถ้าใครทำลายชนิดนี้จะเป็นคนที่มีความประณีตละ เอียดลออมากจึงจะทำได้



ผ้าเป็นผลิตภัณฑ์หัตถกรรมไทยที่บ่งบอกถึงความรุ่งเรืองของวัฒนธรรมประจำชาติ และความคิดสร้างสรรค์ของคนในชาติ ในการรู้จักทำเครื่องนุ่งห่มและผลิตภัณฑ์ใช้สอยในชีวิตประจำวันของคนไทย คนไทยรู้จักการทอผ้ามาตั้งแต่สมัย ก่อนประวัติศาสตร์ สังคมในชนบทถือว่างานทอผ้าเป็นหน้าที่ของผู้หญิงทำกันในครัวเรือนยามว่างจากการทำไร่ทำนา การทอผ้าจึงมีทั่วไปทุกภาคของประเทศไทย



พัฒนาการออกแบบผลิตภัณฑ์ทั้งลวดลายและสีสันของผ้า สืบทอดเป็นเวลาตามจินตนาการของช่างทอ และอิทธิพลจากปัจจัยอื่น ๆ ในอดีตนั้นผ้าจัดเป็นวัสดุหลักในการแต่งกายและเป็นเครื่องบ่งบอกฐานะทางสังคมของผู้แต่งรวมทั้งตำแหน่งและกำหนดชั้นวรรณะของผู้สวมใส่ ด้วยเหตุนี้ การทอผ้าสำหรับบุคคลที่ใช้จึงมี ๓ ประเภทใหญ่ๆ คือ ประเภทแรก เป็นผ้าทอสำหรับ ประชาชนทั่วไป ซึ่งมีทั้งผ้าที่ใช้สอยในชีวิตประจำวัน และผ้าที่ใช้ในโอกาสพิเศษ เกี่ยวเนื่องกับความเชื่อ ขนบธรรมเนียม ประเพณีของกลุ่มชน เช่น ผ้าสำหรับ นุ่งห่มใช้ในงานทำบุญ งานนักขัตฤกษ์ งานเทศกาลหรือพิธีการสำคัญ ๆ ประเภทที่สอง เป็นผ้าสำหรับชนชั้นสูง เจ้านายและพระมหากษัตริย์ เช่น ผ้าปักโบราณ ประเภทต่าง ๆ และ ประเภทที่สาม เป็นผ้าสำหรับพระภิกษุสงฆ์ และเครื่องใช้ใน พระพุทธศาสนา เช่น ผ้าห่มคัมภีร์ใบลาน เป็นต้น ผ้าไทยมีหลายรูปแบบและ มีเอกลักษณ์เฉพาะถิ่นในแต่ละภูมิภาค ซึ่งมีวิวัฒนาการความเป็นมาหลายยุค หลายสมัย อาทิ



ประมาณพุทธศตวรรษที่ ๒๐ – ๒๑ ดินแดนของภาคเหนือเป็นที่ตั้ง ของอาณาจักรล้านนา ไทยมีความรุ่งเรืองกล่าวกันว่าชาวล้านนาเป็นผู้ที่มีความ ชำนาญในการทอผ้าใช้เองโดยเฉพาะผ้าฝ้าย มีการทออย่างแพร่หลายถึงขั้นส่ง จัดจำหน่าย ไปยังอาณาจักรใกล้เคียงผ้าฝ้ายที่มีชื่อเสียงในยุคนี้มีสีสันนานาชนิด เป็นต้นว่า ผ้าสีจันทร์ขาว ผ้าสีจันทร์แดง ผ้าสีดอกจำปา เป็นต้น



ส่วนอาณาจักรสุโขทัย ประมาณ ๗๕๕ ปี มาแล้ว ชาวสุโขทัยทอผ้าใช้เองทั้งผ้าฝ้ายและผ้าไหมสีต่าง ๆ เฉพาะผ้าฝ้าย เป็นผ้าสีห้าสี เรียก “ผ้าเบญจรงค์” คือ ผ้าสีแดง เหลือง ดำ เขียว และขาว ประชาชนทั่วไปใช้ผ้าฝ้ายเป็นหลัก ส่วนผ้าชั้นดีที่ใช้สอย ในราชสำนักจะมีช่างหลวงเป็นผู้ทอและส่วนหนึ่งสั่งซื้อมาจากต่างประเทศ เช่น ผ้าไหมและผ้าแพรจากจีน นอกจากนั้นในสมัยนี้ยังมีการใช้ผ้ามาตกแต่งบ้านเรือนทำผลิตภัณฑ์ประเภทหมอน ฟูก ธงทิว สัปทน ม่าน ฯลฯ




ในสมัยอยุธยา ประมาณ ๔๐๐ ปีมาแล้ว ผ้านับว่ามีบทบาทสำคัญยิ่งนับตั้งแต่การ ใช้สอยเป็นเครื่องนุ่งห่มโดยตรงตลอดจนการใช้ผ้าเข้าไปเกี่ยวกับขนบธรรมเนียมประเพณีความ เชื่อ วัฒนธรรม ศาสนา และสังคม ในสมัยนี้ผ้านับว่ามีความสำคัญในการค้าและเศรษฐกิจของ ประเทศ นอกจากนั้นผ้ายังใช้เป็นสิ่งเทียบแทนค่าเงิน พระมหากษัตริย์ทรงใช้ผ้าเป็นเครื่องปูน บำเหน็จรางวัล หรือบางทีใช้พระราชทานต่างเงินเดือนปีละหนเท่านั้น เรียกว่า “ผ้าหวัดรายปี” ซึ่ง ส่วนมากเป็นผ้าสมปัก ทอด้วยไหมเพลาะ ตรงกลางผ้าเป็นสีมีลวดลาย สำหรับประชาชนทั่วไปผู้ ชายมักใช้ผ้าฝ้าย และผ้านุ่งโจงกระเบนพื้นเรียบและผ้าขาวม้าส่วนผู้หญิงใช้ผ้าสไบ



ปัจจุบัน การทอผ้าพื้นบ้านของไทยมีกระจายไปทั่วเกือบทุกภาค แต่ที่มีมากได้แก่ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคเหนือ รูปแบบของผ้าจะแตกต่างกันไปตามคตินิยม ความเชื่อ และขนบธรรมเนียมประเพณีของเชื้อชาติ แต่ละกลุ่มชน เช่น กลุ่มชนพื้นเมืองล้านนาทางภาคเหนือ นิยมทอผ้าฝ้ายและผ้าไหมที่มีลวดลายด้วยวิธีการยก และจกเป็นส่วนใหญ่ กลุ่มคนไทยเชื้อสายเขมรก็จะมีเอกลักษณ์เฉพาะแบบโบราณ แต่ถ้าเป็นกลุ่มชนคนไทยเชื้อสายไทครั่ง ไทพวน และไทยวน และลาวอีสานนิยมทอผ้าด้วยวิธีจกและมัดหมี่คนพื้นเมืองในภาคใต้นิยมทอผ้ายกเป็นต้น



เครื่องมือที่ใช้ในการทอผ้า แต่ละภูมิภาคมีลักษณะใกล้เคียงกัน อุปกรณ์ที่สำคัญ ได้แก่ อิ้ว กง ไนหรือหลา กวัก กระสวย กี่หรือหูก ขั้นตอนในการทอเริ่มจากการทำเส้นด้ายด้วยวัสดุจากฝ้ายหรือไหมนำไปย้อม ด้วยสีธรรมชาติ หรือสีเคมี แล้วนำไปทอตามลวดลายที่กำหนด และประเภทของผ้าที่ต้องการ



ผ้าทอกับโอกาสที่ใช้










ผ้าพื้น ทอโดยการใช้ไหมเส้นพุ่ง และไหมยืนสีเดียวเท่านั้น เช่น ไหมพุ่งเป็นสีเขียว ไหมเส้นยืนเป็นสีทอง ใช้เป็นผ้านุ่ง หรือในโอกาสอื่นๆ


ผ้าสไบ มีลักษณะคล้ายผ้าขาวม้า ใช้พาดบ่าในงานบวช งานบุญ และงานรื่นเริงต่างๆ


ผ้าโสร่ง เป็นผ้านุ่งสำหรับผู้ชาย ใช้นุ่งอยู่กับบ้าน หรือใส่ไปในงานพิธีต่างๆ และเป็นผ้าไหว้พ่อ – แม่ ของเจ้าบ่าวเจ้าสาว


ผ้านุ่ง ใช้นุ่งอยู่กับบ้าน ใช้ในงานพิธี ใช้เป็นผ้าไหว้ในงานแต่งงาน ได้แก่ผ้าพื้น


ผ้าเก็บ ใช้สำหรับพาดบ่า ไปวัด หรืองานพิธีต่างๆ



ลวดลายและโทนสี








๑. ผ้าขาวม้า นิยมทอเป็นลายตาหมากรุก สีที่นิยมคือ สีแดง เขียว ขาว ดำ



๒. ผ้าสไบ นิยมทอเป็นสีพื้น และลายเหมือนผ้าขาวม้า



๓. ผ้าโสร่ง นิยมทอเป็นลายตาหมากรุกขนาดใหญ่ สีที่นิยม คือ สีแดง และ สีเขียว



๔. ผ้านุ่ง มีหลายชนิด ได้แก่



๔.๑ ผ้าพื้น ไม่มีลวดลายบนผืนผ้า นิยมทอเป็นสีน้ำตาลทอง สีม่วง ขาว น้ำเงินและเขียว



๔.๒ ผ้าโฮล มีลักษณะเป็นลายเส้น ลายจะเป็นนูน มีหลายสีในหนึ่งผืน นิยม สีเขียว ดำ เหลือง แดง ฯลฯ



๔.๓ ผ้าโคน ลวดลายมีลักษณะเป็นสี่เหลี่ยม อาจปรากฏร่วมกับลายอื่นๆ สีที่นิยมคือ สีน้ำตาลทอง ม่วง เขียว น้ำเงิน แดง ฯลฯ



๔.๔ ผ้ากระเนียว หรือหางกระรอก เป็นผ้าลายเส้นละเอียด สีที่นิยม คือ สีเขียว แดง เหลือง



๔.๕ ผ้าอัมปรม มีลักษณะลวดลายคล้ายผ้าโฮล แต่จะมีเส้นคั่นในแนวตั้งชัดเจนกว่าผ้าโฮล ลายของผ้าเป็นลายเรียบไม่ใช่ลายนูนเหมือนผ้าโฮล



๔.๖ ผ้าสมอ เป็นผ้าที่มีลักษณะของลวดลายเป็นสี่เหลี่ยมเล็กๆ สีที่นิยม คือ สีเขียว เหลือง และ แดง



๔.๗ ผ้าคั่น มีลักษณะคล้ายๆผ้าโฮล แต่จะมีเส้นคั่นในแนวตั้งชัดเจนกว่าผ้าโฮล สีที่นิยมคือ สีเขียว ดำ เหลือง และแดง



๔.๘ ผ้ามัดหมี่ คือผ้าที่มีลักษณะของลายผ้าที่เกิดจากการนำเส้นไหมไปมัดด้วยเชือกฟาง หรือปอกล้วย แล้วนำไปย้อมสีเพื่อให้ได้ลวดลายตามที่ต้องการ เช่น ลายต้นสน ลายไก่ ลายนกยูง ลายแมงมุม ฯลฯ สีที่นิยม คือ สีตองอ่อน สีแดง น้ำเงิน เหลือง ม่วง



การทอผ้าจะมีลักษณะพิเศษเป็นของตนเอง โดยเฉพาะผ้าไหมเป็นผ้าพื้นเมืองประเภทหนึ่งที่นิยมกันมาก เนื่องจากเป็นผ้าที่มีความคงทนอายุการใช้งานนาน รวมทั้งมีความสวยงาม ความแวววาวของเนื้อผ้าไหม ผ้าไหมนอกจากจะเป็นสินค้าสำคัญแล้ว ยังมีบทบาททางสังคมทางสังคมอีกด้วย เช่น การใช้ผ้าไหมที่ต่างชนิด และมีลวดลายต่างกันจะเป็นเครื่องบ่งบอกถึงสถานะและสถานภาพทางสังคมได้อีกด้วย ผ้าไหมที่มีชื่อของไทยได้มาจากภาคเหนือ และภาคอีสาน เช่น ผ้าไหมจากหาดเสี้ยว จังหวัดสุโขทัย ภาคอีสาน จากจังหวัดอุดรธานี สุรินทร์ เนื่องจากคุณภาพดี และสีสันลวดลายแปลกตา



ปัจจุบันนี้ผ้าไหมได้พัฒนาจากการผลิตในครัวเรือนไปเป็นการผลิตแบบอุตสาหกรรม ที่มีแหล่งผลิตทั่วประเทศ ประเทศไทยเป็นแหล่งผลิตผ้าไหม และผลิตภัณฑ์ไหมที่มีคุณภาพดีมีชื่อเสียงแห่งหนึ่ง มีมูลค่าการส่งออกเป็นจำนวนมากในแต่ละปี ตลาดที่สำคัญได้แก่ สหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรปและญี่ปุ่น



ในยุคที่ผ้าไทยก้าวสู่ความเป็นสากลโลก ทำให้ไม่มีการจำกัดขอบเขตของการใช้ผ้าไทยอีกต่อไป ไม่ว่าจะเป็นแนวแฟชั่นแบบไหนก็สามารถนำผ้าไทยมาดัดแปลงและปรับวิธีการใช้ได้หมด แม้ว่าจะนำเอาผ้าไหม ผ้าเปลือกไหม และผ้าจก มาออกแบบตัดเย็บให้ออกมาในรูปแบบใด ก็สามารถประดิษฐ์ออกมาได้อย่างสวยงาม



งานหัตถกรรมผ้าทอเกือบจะสูญหายไป แต่ด้วยพระมหากรุณาธิคุณในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ทรงให้การสนับสนุนและฟื้นชีวิตผ้าทอให้กลับคืนมาอีกครั้ง โดยพระองค์ทรงสนับสนุนการใช้ผ้าไทยของแต่ละภาคในชุดฉลองพระองค์ในโอกาสต่างๆ



กว่าจะได้มาเป็นผ้าไหม







ท่านต้องเห็นใจเกษตรกรด้วยว่ากระดูกสันหลังของชาตินั้น กว่าจะปลูกหม่อนเพื่อใช้เลี้ยงไหมได้ต้องใช้เวลาถึง ๑ ปี เมื่อมีใบหม่อนแล้วก็ต้องทำการเลี้ยงไหมอีกประมาณ ๒๐ – ๒๕ วัน จึงจะได้รังไหม ในระยะเวลาดังกล่าวก็จะต้องเก็บใบหม่อนมาเลี้ยงไหม โดยให้ใบหม่อนวันละ ๓ – ๕ ครั้ง ต้องคอยดูแลรักษาความสะอาด ป้องกันโรคแมลงไม่ให้กล้ำกรายตัวไหม เมื่อครบกำหนดแล้วไหมก็ทำรัง โดยพ่นเส้นใยไหมให้เสร็จแล้วก็ต้องมานั่งดึงเอาเส้นใย (สาวไหม) ให้เป็นเส้นไหมตามที่ต้องการ เสร็จแล้วก็นำไปฟอก ไปมัดลาย ไปย้อม ไปขึ้นกี่ทอผ้า



ดังนั้นขบวนการผลิตผ้าไหม หรือผลิตภัณฑ์จากไหมนั้นต้องใช้เวลา แรงงาน และความตั้งใจ เพื่อให้ผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพและสวยงาม



ถ้าท่านใช้ผ้าไหมแล้วมีการปฏิบัติรักษาที่ดี ก็จะทำให้ผ้าไหมมีอายุการใช้งานได้นาน เป็นที่นิยมกันแพร่หลายต่อไป เกษตรกรก็คงจะยึดเป็นอาชีพที่มั่นคง ตลอดจนชื่อเสียงของผ้าไหมไทยนั้นก็จะยืนยง คู่ชาติสืบไป











คุณสมบัติอันมีค่าของผ้าไหมไทย












คุณสมบัติอันมีค่าของผ้าไหมไทย ที่มีชื่อขจรขจายไปสู่ทุกภูมิภาคของโลก (จากการมอง) มีสองลักษณะคือ



๑. การมองในลักษณะภายนอก คือผ้าไหมไทยนั้น เมื่อมองแล้วจะมีความงามเป็นประกาย มีความตรึงใจ และทำให้หลงใหลในสีสันอันงดงาม และดูภูมิฐานเมื่อใครได้สวมใส่ผ้าไหมไทย จะแสดงถึงความมีรสนิยมสูง



๒. การมองในลักษณะของการได้สวมใส่หรือสัมผัส เมื่อได้สวมใส่ผ้าไหมแล้วทำให้เกิดความสุขและความภูมิใจ คุณสมบัติที่เบาตัวของผ้าไหม ทำให้มีความรู้สึกสบาย



ผ้าไหมไทยได้รับการยอมรับว่าเป็นราชินีของเส้นใยทั้งหมดที่มีอยู่ในโลกปัจจุบัน ผ้าไหมหรือผลิตภัณฑ์จากไหมนั้นบอบบาง จึงต้องปฏิบัติรักษาอย่างพิถีพิถันอย่างน้อยทุกคนก็ทราบดีอยู่แล้วว่า คุณสมบัติต่าง ๆ ที่จะต้องปฏิบัติรักษา เคลื่อนย้ายอย่างระมัดระวัง ความสุข ความเบาสบาย ความภูมิใจ จะไม่เกิดขึ้นเลย ถ้าเราจะไม่ทำการรักษาคุณภาพอันดีเลิศของผลิตภัณฑ์ จากไหมทุกชนิดให้อยู่ในสภาพที่น่าหยิบ น่าเป็นเจ้าของและน่าสวมใส่







วิธีการเลือกซื้อผ้าไหม








๑. ควรพิจารณาดูว่า ผ้าไหมที่จะซื้อนั้นเป็นผ้าไหมแท้หรือไม่ ซึ่งสามารถตรวจสอบได้โดย การตัดริมผ้าไหม มาเผาไฟ ถ้าเป็นผ้าไหมแท้ ขี้เถ้าจะมีสีดำ มีกลิ่นเหมือนเส้นผมไหม้ ถ้าหากเอามือขยี้ขี้เถ้าจะแตกเป็นผง ไม่เป็นก้อน หากเป็นเส้นใยสังเคราะห์เมื่อนำไปเผา ถ้าสังเกตที่เปลวไฟจะมีสีเขียว สีฟ้า และกลิ่น เหมือนพลาสติกไหม้ ขี้เถ้าจะจับตัวเป็นก้อนแข็ง (ที่แนะนำให้ตัดริมผ้าไหมไปทำการตรวจสอบเพราะว่า การปลอมปนผ้าไหมในปัจจุบัน ส่วนใหญ่จะใช้เส้นยืนที่เป็นพวกเส้นใยสังเคราะห์ หากเราดึงเส้นทางพุ่งมาทำการตรวจสอบ ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นส้นไหมแท้ ผลการตรวจสอบ จะคลาดเคลื่อนได้)



๒. เมื่อเราแน่ใจแล้วว่าเป็นผ้าไหมแท้ ขั้นตอนต่อมา ให้ดูที่เนื้อผ้าว่า มีเนื้อแน่น สม่ำเสมอหรือไม่ ซึ่งเราสามารถตรวจสอบได้โดยการสัมผัส และสังเกตจาก เส้นไหมยืน ถ้าทอไม่แน่น เราจะเห็น เส้นไหมยืนค่อนข้างชัดเจน ซึ่งการใช้มือสัมผัสบางครั้งอาจไม่แน่นอนเพราะผู้ผลิตบางรายอาจนำผ้าไหมไป อาบน้ำยาแบบแข็ง ก็จะทำให้ผ้าไหมดูหนาขึ้น แต่เมื่อนำไปใช้ อาจทำให้เสื้อผ้าไม่คงทน



๓. ความสม่ำเสมอ ของสีผ้าไหม ต้องสม่ำเสมอทั้งผืน แต่บางครั้งผลจากการฟอกย้อมที่ไม่ได้ มาตรฐาน อาจส่งผลให้ผ้าไหม มีสีที่ไม่สม่ำเสมอหรือด่าง ได้ และความไม่สม่ำเสมอของสีผ้าอาจเกิดได้จาก การใช้เส้นไหมพันธุ์ต่างประเทศ ที่ด้อยคุณภาพ เมื่อนำมาทอจะทำให้ผ้าเป็นล็อก หรือเป็นขั้น และตรวจดูว่าผ้าไหมสีตกหรือไม่ เพราะถ้าหากใช้สีราคาถูก คุณภาพต่ำก็จะทำให้ผ้าไหมสีตกได้ (การตรวจสอบอาจใช้ เศษริมผ้าไหมไปจุ่มน้ำและสังเกตการเปลี่ยนแปลง)



๔. ควรเลือกซื้อผ้าไหมจากผู้ผลิตที่เชื่อถือได้ ซึ่งขอดูจากการได้ใบรับรอง มาตรฐานต่างๆ เช่น มาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน (มผช.)



การปฏิบัติรักษาผ้าไหมไทย








เนื่องจากผ้าไหมมีราคาแพง การตัดเย็บ การซักรีด และเก็บรักษา ก็ยุ่งยาก และยังต้องระมัดระวัง ดังนั้น เมื่อมีผ้าไหมแล้ว จึงต้องรู้จักวิธีปฏิบัติรักษา และทะนุถนอมให้มาก เพื่อจะได้ใช้สอยนาน ๆ ซึ่งผู้เขียนก็อยากจะอธิบายถึงการปฏิบัติรักษาผ้าไหมไทยดังต่อไปนี้คือ



การตัดเย็บ



ขั้นแรกให้จุ่มผ้าไหมลงในน้ำร้อน เพื่อไล่สีที่หลงเหลือหรือสีที่ไม่สามารถจับติดในเนื้อผ้าไหมให้ออกไป นอกจากนี้แล้วยังทำให้มีความงามเป็นประกายดีขึ้น หลังจากนั้นรีดผ้าไหมทางด้านหลังด้วยไฟอ่อน ๆ โดยพ่นน้ำเพียงเล็กน้อยก่อนรีด พึงระลึกเสมอว่า ให้พ่นฉีดน้ำบาง ๆ เท่านั้น อย่าถึงกับให้เปียกเพราะ ถ้าเปียกเวลารีดแล้วอาจทำให้ผ้าเกิดเป็นจุดที่ไม่สวยงาม หลังจากนั้นแล้วจึงจัดเส้นลายผ้าให้ตรง แล้วจึงทำการตัดและเย็บด้วยเข็มและด้ายที่เหมาะสมกับคุณภาพของผ้า



การซัก



ซักแห้งนับว่าเหมาะสมที่สุด แต่ถ้าหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะซักแบบธรรมดาควรใช้สารที่มีคุณภาพเป็นกลางในน้ำอุ่นให้ทั่ว อย่าให้ผ้าไหมกองหรือพับติดกัน หลังจากซักแล้วให้บิดเบา ๆ นำไปผึ่งในที่ร่ม ห้ามผึ่งแดดโดยเด็ดขาด



การรีด



การรีดโดยทั่วไปหรือการรีดลบรอยย่นหลังจากตัดเย็บแล้วหรือหลังจากการสวมใส่อุณหภูมิที่เหมาะสมในการรีดผ้าไหมโดยทั่วไป ควรรักษาอุณหภูมิให้อยู่ในระหว่าง ๑๒๐ – ๑๔๐ องศาเซลเซียส และการรีด ควรมีผ้าฝ้ายหนา ๆ ทับบนผ้าไหม เพื่อป้องกันการสัมผัสผ้าไหมกับเตารีดโดยตรง ถ้าสัมผัสโดยตรงจะทำให้คุณสมบัติต่าง ๆ ของผ้าไหมสูญเสียไปได้



การระมัดระวังและเก็บรักษา



หลังจากสวมใส่ทุกครั้งให้ตรวจสอบสิ่งสกปรกที่ติดอยู่อย่างระมัดระวัง ผึ่งให้เสื้อผ้าคงรูปเดิมในที่ ๆ มีการถ่ายเทอากาศที่ดีปราศจากฝุ่นละออง ถ้าเสียรูปร่างหรือรอยยับให้ใช้เตารีด รีดให้เรียบ การเตรียมการเก็บรักษา ก่อนเก็บเสื้อผ้าต้องอยู่ในสภาพเรียบไม่มีรอยยับแห้งและสะอาดอยู่เสมอ



สารป้องกันแมลงเช่น ลูกเหม็น ควรวางไว้โดยไม่ให้สัมผัสกับผ้าไหมโดยตรง อย่าเก็บในที่มีความชื้นและต้องปราศจากแมลงหรือราที่จะทำอันตรายกับผ้าไหมควรเก็บใส่ถุงที่มีอุณหภูมิต่ำ และสะอาด อาจเก็บในถุงผ้า หรือถุงพลาสติกก็ได้ การตากหรือผึ่งควรผึ่งในที่มีการถ่ายเทอากาศที่ดี ความชื้นต่ำในระหว่างเวลา ๑๐.๐๐ – ๑๔.๐๐ น. เป็นระยะเวลาที่เหมาะสม อย่างไรก็ตามในฤดูฝนความชื้นสูงควรทำการป้องกันแมลง และเชื้อราต่าง ๆ ที่อาจทำอันตรายกับผ้าไหมได้ ในบ้านเรามีข้อจำกัดเพียงในฤดูฝนเท่านั้น



ส่วนหน้าหนาวและหน้าร้อนเราสามารถผึ่งในร่มได้ดี โดยไม่มีปัญหา นอกจากลูกเหม็นแล้วสารอื่นเช่น สารฆ่าแมลงชนิดระเหย ประกอบด้วย DDVP ๑๖% ใช้ในโรงเก็บเมล็ดพันธุ์มีความเป็นพิษต่อคนน้อย และสารอื่น ๆ เช่น คลอโรพิคริน (Chloropicrin), เมธทิลโบรไมด็ (Methylbromide), ไฮโดรฟอสเฟท (Hydrophosphate) อย่างไรก็ตามสารฆ่าแมลงเหล่านี้ก่อนใช้ทุกครั้งขอให้อ่านคำแนะนำ หรือทำการศึกษาจากผู้รู้จะทำให้ปลอดภัย



ผ้าไหมภูมิปัญญาไทย ก้าวไกลสู่ตลาดโลก











ในอดีตไหมไทยไม่ที่รู้จักแพร่หลายในตลาดโลกมากนัก แม้กระทั่งคนไทยยังไม่นิยมนำผ้าไหมมาตัด เย็บเสื้อผ้า เพราะผ้าไหมถูกตีกรอบให้เหมาะสมกับกลุ่มผู้ใหญ่เท่านั้น จนหลังสงครามโลกครั้งที่ ๒ เมื่อจิม ทอมสัน ชาวอเมริกันฟื้นฟูอุตสาหกรรมไหมไทย ขึ้นมาใหม่ทำให้ผ้าไหมขึ้นมาใหม่ทำให้ผ้าไหมไทยเป็น ที่รู้จักของโลกภายนอกมากยิ่งขึ้น



ประกอบกับที่สมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถทรงมีพระราชดำริ ในการก่อตั้งศูนย์ศิลปาชีพ เพื่อส่งเสริมงานฝีมือภูมิปัญญาไทย ผ้าไหม "มัดหมี่" จึงเป็นศิลปะอีกแขนง หนึ่งที่ทรงให้ความสำคัญ และได้รับส่งเสริมพัฒนาในทุกขั้นตอนการผลิต ทรงส่งเสริมให้มีผลิตออก มาหลายๆ รูปแบบทั้งแบบผืนยาวเรียบลายแถบ ยกดอก ภาพพิมพ์สมเด็จฯท่านทรงเป็นแบบอย่างในการ เผยแพร่ชื่อเสียงของผ้าไหมไทยโดยการที่ทรงฉลองพระองค์ด้วยผ้าไหมไทย ไม่ว่าจะอยู่ในประเทศหรือ เสด็จต่างประเทศก็ตาม



ผ้าไหมมัดหมี่นอกจากจะมีลวดลายที่สวยงาม แล้วยังมีความทนทานสามารถสวมใส่ได้หลายปี หาก รู้จักวิธีการรักษาที่ถูกต้อง ปัจจุบันดีไซเนอร์ชั้นนำทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศนิยมนำผ้าไหมทั้งผ้าพื้น และผ้ามัดหมี่ไปตัดเย็บ จัดแสดงแฟชั่นโชว์คอลเลคชั่นผ้าไหมให้เห็นกันอยู่บ่อยๆ ซึ่งผ้าไหม ๒ เส้น นิยมตัดชุดสำหรับสุภาพสตรี ส่วนของผ้าไหม ๔ เส้น นำมาตัดเป็นเสื้อพระราชทาน สำหรับสุภาพบุรุษหรือตัด ชุดสูทเป็นการออกแบบผสมผสานความงามของผ้าไหมไทยกับการตัดเย็บอย่างประณีตในรูปแบบสากล เพื่อช่วยเสริมให้บุคลิกของผู้สวมใส่ดูสวยงามไม่ล้าสมัย เหมาะสมกับคนทุกวัยและทุกโอกาส จากการเริ่ม ต้นแค่ภูมิปัญญาของชาวชนบทในภาคอีสานของไทย เดี๋ยวนี้ผ้าไหมไทยกลายเป็นสินค้าสำคัญของประเทศ และเป็นที่ต้องการของตลาดโลกไปแล้ว...



ผ้าไหมและลายผ้าไหมของแต่ละภูมิภาคของประเทศไทย



ภาคกลาง



ในภาคกลาง ไม่ปรากฏร่องรอยที่ชัดเจนของกลุ่มช่างทอผ้าในอดีต แม้จะมีการปลูกฝ้ายกันมากก็ตาม ในภายหลังมีการอพยพชาวบ้านจากหัวเมืองล้านนา จากฝั่งลาวลงมา


ชาวลาวเวียง แถบอุทัยธานีและชัยนาท นิยมทอผ้าจกไหม
ชาวไทยยวน แถบสระบุรีและราชบุรี ทอผ้าซิ่น มัดก่าน ตีนจก และยกมุก
ชาวไทยพวน แถบลพบุรี นิยมทอผ้ามัดหมี่
ชาวไทยดำ แถบเพชรบุรี นิยมทอผ้าพื้น หรือผ้าซิ่นลายแตงโม
ชาวกรุงเทพมหานครนั้น ยังมีชาวมุสลิม ที่เรียกว่าแขกจาม ทอผ้าไหม จนถึงทุกวันนี้



ภาคใต้



ในภาคใต้ ลักษณะเป็นผ้ายก แบบหลายตะกอ เช่น ผ้ายกเมืองนคร ผ้าเกาะยอ และผ้าพุมเรียง ลักษณะลวดลายมีทั้งเป็นลายดอกเล็กๆ พรมไปทั้งผืน หรือยกลายเน้นเชิง เดิมนั้นเข้าใจว่าเป็นผ้าไหมเป็นส่วนมาก มีหลักฐานการส่งผ้าจากภาคใต้มายังพระราชสำนักในกรุงเทพฯ เมื่อต้นสมัยรัตนโกสินทร์ ทั้งจากเมืองนครศรีธรรมราช และจากหัวเมืองทางใต้อื่นๆ เช่น ปัตตานี เป็นต้น จึงเชื่อกันว่า ผ้ายกของภาคใต้นั้นน่าจะได้รับอิทธิพลจากแถบมลายู ปัจจุบัน ยังคงเหลือผ้ายกของชาวพุมเรียง อ.ไชยา จ.สุราษฎร์ธานี ซึ่งเป็นหมู่บ้านชาวมุสลิมเพียงแห่งเดียวในภาคใต้ที่ยังทอผ้าไหม







ภาคเหนือ



ในภาคเหนือ ผ้าโบราณของภาคเหนือมีความโดดเด่นที่ผ้าของเจ้านายล้านนา ที่นิยมใช้ผ้ายกดอก ทอด้วยไหมเงินไหมทอง นอกจากนี้วัฒนธรรมผ้าที่หลากหลายโดยทั่วไป เพราะเป็นถิ่นเดิมของชาวไทยวน ที่มีชื่อเสียงด้านผ้าซิ่นตีนจก เช่น อำเภอแม่แจ่ม เชียงใหม่ อำเภอลอง แพร่ อำเภอลับแล อุตรดิตถ์ ชาวไทพวนบ้านหาดเสี้ยวสุโขทัยโดดเด่นทางด้านผ้าเข็นและผ้ามุกต่อตีนจก ชาวไทยลื้อมีวัฒนธรรมการทอผ้าที่โดดเด่นโดยเฉพาะผ้าลายน้ำไหล พบได้ในแถบจังหวัดพะเยา เชียงราย และน่าน ในภายหลัง ผ้าฝ้ายของป่าซางยังมีชื่อเสียงโดดเด่นมาช้านาน



ในภาคเหนือยังมีผ้าชาวเขาจากหลายเผ่า เช่น กะเหรี่ยง (ปกะญอ, ปกากญอ, ยาง) แม้ว (ม้ง), เย้า (เมี่ยน), อีก้อ (อาข่า), ลีซอ (ลีซู), ปะหล่อง เป็นต้น ซึ่งมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว ทั้งเทคนิคการทอ วัสดุ และลวดลาย



ภาคอีสาน



ในภาคอีสาน ส่วนใหญ่ปลูกหม่อนเลี้ยงไหม จึงนิยมทอผ้าไหม โดยใช้การมัดหมี่ให้เกิดลวดลาย มีฝีมือประณีต อย่างในก็ตาม ในภาคอีสาน มีกลุ่มชาติพันธุ์มากมาย นับว่ามีวัฒนธรรมผ้าที่หลากหลายมาก


ชาวผู้ไทย แถบสกลนคร มุกดาหาร ใช้ผ้ามัดหมี่ย้อมคราม
ชาวผู้ไทย แถบกาฬสินธุ์ ทอผ้าไหมแพรวา
ชาวไทยเขมร แถบสุรินทร์และบุรีรัมย์ทอผ้ามัดหมี่ลวดลายเฉพาะตัว
ชาวอีสาน แถบร้อยเอ็ด ทอผ้าไหมยกดอกที่ประณีตมาก



ผ้าเหล่านี้ล้วนเคยส่งมาถวายราชสำนักในกรุงเทพฯ มาแล้วทั้งสิ้น



การทอผ้าไหมในจังหวัดสกลนคร



ในอดีตงานทอผ้าเป็นงานหัตถกรรมพื้นบ้านของคนไทยอีสาน เมื่อเสร็จจากการเก็บเกี่ยวแล้วจะทอผ้าเก็บไว้เป็นเครื่องนุงห่ม ผู้หญิงไทยสมัยก่อนแทบทุกคนเมื่อเติบโตเป็นสาว ต้องรู้จักและเรียนรู้การทอผ้าหรือภาษาอีสาน “เฮ็ดหูก หรือ ต่ำหูก” อันเป็นคุณสมบัติติดตัว ซึ่งการทอผ้าเป็นที่นิยมทอกันมากและได้คิดค้นลวดลายจากสิ่งที่พบเห็นในชีวิตประจำวัน การดำรงชีวิต แล้วนำมาบอกเล่าลงบนผืนผ้าถักทอด้วยสีสัน ลวดลายอันวิจิตรประณีตได้อย่างลงตัวและสวยงาม อย่างเช่น ลายหมี่ข้อ หรือ “ไอ่คำ” เป็นลายผ้าไหมมัดหมี่สมัยโบราณ ตั้งแต่สมัย ย่า-ยาย ที่ทอเป็นเครื่องนุ่งห่มมานานและได้มีชื่อเรียกว่า “ผ้าไหมมัดหมี่ลายหมี่ข้อ” และลูกหลานก็ได้ทอผ้าลายนี้ตามภูมิปัญญาของบรรพบุรุษเรื่อยมา



จนกระทั่ง วันที่ ๑๒ สิงหาคม ๒๕๔๕ ได้มีการประกวดลายผ้าประจำจังหวัดสกลนครขึ้น ก็ได้ทอผ้าลายนี้ผ้าไหมมัดหมี่ “ลายหมี่ข้อ” ส่งเข้าประกวด ลายผ้าประจำจังหวัดสกลนคร และได้รับรางวัลชนะเลิศได้เป็นผ้าไหมประจำจังหวัดสกลนครและคณะกรรมการประกวดได้ตั้งชื่อใหม่เป็น “ผ้าไหมมัดหมี่ลายไอ่คำ” เพื่อให้สอดคล้องกับหนองหานอันลือเลื่องของจังหวัดสกลนครสืบต่อไป







ข้อมูลการทอผ้าไหมในจังหวัดหนองคาย



จังหวัดหนองคายไม่มีชื่อเสียงทางด้านการทอผ้ามากนัก แต่ก็มีการรวมตัวทอผ้ากันในหลายอำเภอ โดยทอใช้เองและผลิตเพื่อขาย ลายของผ้าไม่สวยงามและโดดเด่นเท่าจังหวัดใกล้เคียงอย่างจังหวัดอุดรธานี จังหวัดเลย แต่ลายผ้าของบางหมู่บ้านก็มีเอกลักษณ์เป็นของตัวเอง



ลวดลาย



ลายกระถางดอกไม้ ลายดอกแก้ว ลายขออ้อมเกาะ



ลายขอเกี่ยว ลายหมี่บักบก ลายหมี่นาค



ลายหมี่จับน้อย ลายหมี่ปลาซิว ลายบักจับ



ลายหมี่จับน้อย ลายหมี่ข้อ ลายหมี่โคมสาม



ลายหมี่โคมห้า ลายหมี่โคมเจ็ด



ข้อมูลการทอผ้าไหมในจังหวัดเลย



1.ผ้ามัดหมี่ลายน้ำเต้า



ประวัติ เป็นลายโบราณสืบต่อกันมาตามบรรพบุรุษ โดยดูลักษณะจากลูกน้ำเต้าแล้วนำมาประยุกต์มัดเป็นลายผ้า เมื่อก่อนทำไว้ใช้ในครัวเรือน โดยทำมาจากกผ้าฝ้าย แต่ต่อมาในปี พ.ศ.2524 ได้ก่อตั้งกลุ่มทอผ้า บ้านก้างปลาขึ้นมา จึงได้มีการพัฒนาจากการใช้ผ้าฝ้ายเส้นใหญ่มาเป็นการใช้ผ้าฝ้ายเส้นเล็กแทน แต่เดิมมีการใช้สีธรรมชาติ ก็ได้มีการพัฒนาด้านการใช้สีและการทอทำให้เนื้อผ้าที่ทอได้มีความละเอียดสวยงามทันสมัยมากยิ่งขึ้น



๒.ผ้ามัดหมี่ ลายก้างปลา



ประวัติ เป็นลายเก่าแก่โบราณ โดยดูจากลักษณะของต้นก้างปลาที่ขึ้นอยู่ทั่วไป รอบหมู่บ้าน นำมาประดิษฐ์คิดค้นขึ้นแล้วมัดเป็นลายผ้า เริ่มแรกจะทอเป็นผ้าห่มไว้ใช้ในครัวเรือน ทอจากผ้าฝ้ายและใช้ฟืมธรรมดา ต่อมาก็ปรับปรุงจากการใช้ด้ายเส้นใหญ่มาใช้ด้ายเส้นเล็กทอและได้รับความรู้จากวิทยากรต่างๆ ที่มาให้ความรู้ จึงทำให้ผ้าห่มลายก้างปลาเป็นผ้าที่มีลายสวยงามมากยิ่งขึ้น สามารถนำไปตัดชุดทั้งของสุภาพบุรุษและสุภาพสตรี ได้อย่างสวยงาม ลายก้างปลานี้จึงได้เป็นลายที่เป็นเอกลักษณ์ของบ้านก้างปลาและมีที่บ้านก้างปลาเพียงแห่งเดียว







ประวัติผ้าไหมหมี่ขิด จังหวัดอุดรธานี



๑.ผ้ามัดหมี่”ลายใบโพธิ์”



ผ้ามัดหมี่”ลายใบโพธิ์” ผู้ออกแบบลายได้ลอกเลียนแบบมาจากใบโพธิ์จริงๆ เป็นการนำธรรมชาติมาจำลองไว้บนผืนผ้าได้อย่างสวยงามบอกถึงภูมิปัญญาชาวบ้านที่ควรส่งเสริมและสนับสนุน ผ้าลายได้ส่งเข้าประกวดและได้รับรางวัลชนะเลิศที่พระตำหนักภูพานราชนิเวศน์ ในปี ๒๕๕๐



๒.ผ้ามัดหมี่”ลายขอโบราณ”



ผู้ออกแบบ นางทองแดง บุญอภัย



ผู้มัดลาย นางทองแดง บุญอภัย



โครงการศิลปาชีพตาดนาโปร่ง ตำบลบะยาว อ.วังสามหมอ จ.อุดรธานี ผ้ามัดหมี่ลายขอโบราณนี้ เป็นลายใหม่ที่ได้ประดิษฐ์และออกแบบให้มีลวดลายทันสมัยและมีสีสันสวยงาม แปลกตา เป็นที่นิยมของผู้มัดหมี่และผู้ใช้ ผ้าไหมลายนี้ได้รับรางวัลชนะเลิศการประกวดผ้าไหมที่พระตำหนักภูพานราชนิเวศน์ ปี ๒๕๔๓



๓.ผ้ามัดหมี่”ลายกระจับสลับหยดน้ำ”



ผู้ออกแบบ นางสมจิตร ปิตินพรัตน์



ผู้มัดลาย นางสมจิตร ปิตินพรัตน์



ผ้ามัดหมี่”ลายกระจับสลับหยดน้ำ”เป็นการออกแบบลายที่มาจากวิถีชีวิตของคนพื้นบ้าน กระจับเป็นพืชที่เรานำมาบริโภค และน้ำเป็นสิ่งที่คนเราต้องดื่มกินอยู่ทุกวัน เมื่อนำทั้งสองอย่างนี้มาออกแบบและมัดอย่างมีศิลปะทำเป็นลวดลายบนผืนผ้าไหม สามารถสื่อให้เราได้เห็นคุณค่าของพืชและน้ำว่ามีคุณประโยชน์ มีความสำคัญต่อชีวิตมนุษย์มากมายมหาศาลนับตั้งแต่เกิดจนตาย ผ้าไหมลายนี้เคยได้รับรางวัลชนะเลิศในการประกวดผ้าไหมที่ตำหนักภูพานราชนิเวศน์ ปี พ.ศ.๒๕๔๕



๔.ผ้ามัดหมี่”ลายดอกพิกุล”



ผู้ออกแบบ นางสมจิตร ปิตินพรัตน์



ผู้มัดลาย สมาชิกโครงการศิลปาชีพนาตาด นาโปร่ง



ผ้ามัดหมี่”ลายดอกพิกุล” เป็นผ้าที่นำดอกพิกุล มาจำลองลอกเลียนลงบนผืนผ้า ด้วยเจตนาที่จะให้คนรุ่นหลังรู้จักดอกพิกุล ซึ่งเป็นไม้ดอกประเภทสมุนไพร ที่สามารถนำไปเป็นยารักษาโรคได้ นอกจากนั้นยังมีกลิ่นหอมเย็นชื่นใจ ปัจจุบันจะพบเห็นต้นพิกุลได้น้อยมาก นอกจากจะปลูกกันในวัดเท่านั้น การนำลายดอกพิกุลมาถ่ายทอดลงบนผืนผ้าจึงเป็นประโยชน์ทั้งทางตรงและทางอ้อม เป็นการสืบทอดวิถีชีวิต ด้วยผ้าลายดอกพิกุลนี้เคยได้รับรางวัลชนะเลิศในการแระกวดผ้าไหมที่พระตำหนักภูพานราชนิเวศน์ ปี ๒๕๓๘



๕.ผ้าไหมมัดหมี่”ลายผืนนา-ตาควาย



ผู้ออกแบบ นางลำดวน พันทะสุภา



ผู้มัดลาย นางลำวน พันทะสุภา



ผ้ามัดหมี่”ลายผืนนา-ตาควาย” นี้เป็นผ้าที่เป็นลายผ้าโบราณนิยมทำสืบเนื่องกันมาตั้งแต่ ปู่ ย่า ตา ยาย เมื่อก่อนจะทำเป็นลายโคม ๕ โคม ๗ หรือลายหมากจับแล้วนำมาประยุกต์เป็นลายโคม ๙ ตั้งชื่อให้เกี่ยวข้องกับวิถีชีวิตของชาวนา ชาวไร่ ว่าลายผืนนา-ตาควาย ผืนนาก็คือ ลายสี่เหลี่ยมที่เห็นบนผืนผ้ามีคันนาคั่นเป็นแปลงๆ ตาควายก็คือ รูปที่อยู่ตรงกลางจะเห็นเหมือนตาควาย ซึ่งเป็นสัตว์ที่ชาวนานำมาเลี้ยงเพื่อใช้ไถนา เป็นการรำลึกถึงคุณของควายที่ช่วยไถนาและสอนให้คนรุ่นหลังได้รู้ว่าบรรพบุรุษที่เป็นชาวไร่ ชาวนา นั้น ทำอะไรมาก่อนและให้คนทั่วไปได้รับรู้ถึงความผูกพันระหว่างคนกับควายที่เป็นเอกลักษณ์ของชาวนาอีสาน เป็นการถ่ายทอดวิถีชีวิตลงบนผืนผ้าอย่างสมบูรณ์























วิถีชีวิตชุมชนกับผ้าไหมเมืองสุรินทร์



ที่บ้านท่าสว่าง ต.ท่าสว่าง อ.เมือง จ.สุรินทร์ ซึ่งอยู่ห่างจากตัวเมืองสุรินทร์ ไปทางทิศเหนือประมาณ ๘ ก.ม. ตามถนนสาย สุรินทร์ - เมืองลีง มีการ ทอผ้ายกทองโบราณ สร้างความมหัศจรรย์แก่ผู้พบเห็นจนแทบไม่น่าเชื่อว่าจะเป็นผ้าที่ทอจากฝีมือมนุษย์เดินดินธรรมดาอย่างเรา ๆ ความสวยงามของผ้ายกทองโบราณ เกิดจากการประดิษฐ์คิดค้นของ อ.วีรธรรม ตระกูลเงินไทย ลูกหลานชาวบ้านท่าสว่างนั่นเอง ซึ่งได้แนวความคิดจากการใช้ลายผ้าโบราณ มาผสมผสานกับลายจำหลักที่ปรากฏอยู่ตามปราสาทขอมในท้องถิ่นอีสาน ผนวกกับภูมิปัญญาท้องถิ่นดั้งเดิมของคนสุรินทร์ ออกแบบเป็นลายผ้าไหมใหม่ เรียกว่าผ้ายกทองโบราณ สวยงามประหนึ่งว่าเกิดจากการเนรมิตของเทพเจ้าการออกแบบลายแต่ละลาย ใช้เวลาออกแบบ เขียนแบบ เก็บตะกอนานถึง ๒ - ๓ เดือน ในด้านการทอผ้าแต่ละผืนก็ต้องใช้เวลาทอ ๑-๓ เดือน/ผืน จึงจะเสร็จต้องใช้ช่างทอประจำกี่แต่ละกี่ ๔ คนขึ้นไป ค่อย ๆ ทอได้ ๕-๗ เซนติเมตร/วัน ผ้าแต่ละผืนทอจากเส้นไหมที่ย้อมจากสีธรรมชาติยกเป็นลวดลายต่าง ๆ ตามจินตนาการด้วยดิ้นทองของอินเดีย ซึ่งไม่มีจำหน่ายในท้องตลาด



อ.วีรธรรม ตระกูลเงินไทย ผู้คิดค้นลายผ้ายกทองโบราณ เป็นลูกหลานชาวบ้านท่าสว่าง สำเร็จการศึกษาด้านศิลปะประจำชาติจากสถาบัน เทคโนโลยีราชมงคล วิทยาเขตเพาะช่างกรุงเทพ ปัจจุบันเป็นอาจารย์พิเศษอยู่ที่ศูนย์ศิลปาชีพสวนจิตลดา ได้มีโอกาสรับสนองใต้เบื้องพระยุคลบาทสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ ทอผ้าฉลองพระองค์ มีตะกอลายถึง ๑,๔๑๘ ตะกอ ทอผ้าลายหิ่งห้อยชมสวนให้ภริยาเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย มีตะกอลาย ๓๖๐ ตะกอ ซึ่งถือว่าเป็นผ้าชั้นสูงที่คนทั่วไปแทบไม่มีโอกาสได้ใช้



แต่สำหรับวิถีชีวิตของชุมชน โดยปกติก็ยังนิยมใช้ผ้าไหมในชีวิตประจำวันผ้ากันโดยทั่วไป ซึ่งผ้าไหมเมืองสุรินทร์ มีลักษณะโดดเด่นด้วยลวดลายอันเป็นเอกลักษณ์เฉพาะที่ได้รับอิทธิพลมาจากเขมร จะมีความแตกต่างจากผ้าไหมทั่วไปอย่างเห็นได้ชัด บ่งบอกความเป็นผ้าไหมเมืองสุรินทร์ ด้วยเหตุนี้ลายดอก ลายขิด มัดหมี่จึงไม่เหมือนใคร อีกทั้งยังนิยมใช้ไหมหนึ่ง หรือ ไหมน้อยที่เขมรเรียกว่า"โซดซัจ" (ไหมเนื้อใน) เป็นซึ่งเป็นเนื้อไหมชั้นในที่มีเส้นไหมเส้นเล็กละเอียด นุ่ม เงางาม มีคุณภาพดีที่สุด ซึ่งกว่าจะได้ต้องสาวไหมจากเปลือกไหมที่ปุ่มปมมาก เรียกว่าไหมสาม ไหมสอง เสียก่อนจะมาเป็นไหมหนึ่ง







ส่วนการย้อมสี ยังนิยมใช้สีจากธรรมชาติ เช่น สีแดงจากเปลือกประดู่ ครั่ง รากยอป่า มะไฟ สีเหลืองจากหัวขมิ้นชัน เปลือกปะโหด รวมถึงการทอที่มีความแน่น ใช้ความประณีตละเอียดอ่อนในการทอ รวมถึงการผสมผสานลวดลายต่างๆ เข้าด้วยกัน หมู่บ้านที่เป็นแหล่งทอผ้าสำคัญนอกจากบ้านท่าสว่าง คือ บ้านเขวาสินรินทร์ กิ่ง อ.เขวาสินรินทร์ บ้านจันรม ต.ตาอ๊อง อ.เมือง และบ้านสวาย ต.สวาย อ.เมือง



ในหมู่บ้านผ้าไหมสุรินทร์ โดยทั่วไปนั้น ถือว่าผ้าโฮลเป็นผ้าไหมที่ดีที่สุด โฮล คือ ไหมมัดหมี่ แต่พิเศษแตกต่างจากมัดหมี่ทั่วไปตรงการคัดเลือกเส้นไหม การมัดย้อม การทอส่วนใหญ่ประกอบด้วยสีเทา แดง ขาว เขียว และเหลือง ว่ากันว่าผ้าโฮลของแท้นั้น ถ้านำไปรองน้ำ น้ำจะไม่รั่ว คนสุรินทร์แต่โบราณนิยมทอผ้าโฮลมอบไว้เป็นมรดกเฉพาะทายาทคนพิเศษที่สุด เนื่องจากต้องลงทุน ลงแรง และใช้เวลานานชาวบ้านมักนำมาใช้เฉพาะในโอกาสสำคัญๆ เช่น งานแต่งงานบุญ เท่านั้น



ผ้าอัมปรม เป็นผ้ามัดหมี่สองทาง ที่มีการมัดหมี่ทั้งเส้นพุ่งและเส้นยืน เมื่อทอแล้วจะเป็นลายตารางเล็กๆ ซึ่งเป็นเอกลักษณ์เฉพาะของสุรินทร์ ส่วนมัดหมี่ลายอื่นๆ ก็มีทั้งลายหมี่โคม หมี่ลายกนก เช่น พุ่มข้าวบิณฑ์ ลายพระตะบอง ลายพนมเปญ มัดหมี่ลายโบราณ เช่น ลายเวสสันดรชาดก ลายนครวัด-นางรำ



ผ้าไหมยกดอก ทอลวดลายเพิ่มเข้าไปในเนื้อผ้าเพื่อทำให้ผ้าทั้งสองด้านมีลวดลายต่างกันด้านหนึ่งคมชัดและเรียบ อีกด้านมีลวดลายหยาบ เช่น ลายลูกแก้ว ลายดอกจัน ลายดอกพิกุล



ผ้าขาวม้าไหม เรียกว่า สไบเปราะ เป็นผ้าลายทางยาวทางบางหมู่บ้านจะมีการทอยกขิดลายช้าง ลายม้า ที่เชิง










ผ้าไหมหลากลวดลายในแบบต่างๆ








มุมผ้าพื้นเมือง ผ้าสีพื้นและลายสก๊อต ผ้าพันคอลายสวย





มุมผ้าสีพื้นหลากสีสัน ผ้าไหมบาติก กระเป๋า ฯลฯ ผ้าไหมลูกแก้วมัดหมี่







ผ้าไหม “ลายลูกแล้ว” และผ้าไหม พื้นเมือง “ลายลูกแก้วมัดหมี่” ในแบบต่าง ๆ











ผ้าไหมสไบลูกแก้วมัดหมี่ ผ้าไหมลายลูกแก้ว ดั่งเดิม ผ้าไหมลายลูกแก้วลายใหม่







ผ้าไหมพื้นเมืองลายลูกแก้วมัดหมี่













ชุดไทยพระราชนิยม 8 ชุด







ในโอกาสที่สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ได้โดยเสด็จพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินเยือนยุโรปและสหรัฐอเมริกาอย่างเป็นทางการ เมื่อพุทธศักราช ๒๕๐๓ ได้พระราชทานพระราชดำริว่า สมควรที่จะสรรค์สร้างการแต่งกายชุดไทยให้เป็นไปตามประเพณีที่ดีงาม จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ให้มีการศึกษา ค้นคว้าเครื่องแต่งกายสมัยต่าง ๆ จากพระฉายาลักษณ์ของเจ้านายฝ่ายใน และปรึกษาผู้เชี่ยวชาญทางประวัติศาสตร์ แต่ให้มีการปรับปรุงพัฒนาให้เหมาะสมกับ กาลสมัย ทรงเสนอรูปแบบที่หลากหลาย และได้ฉลองพระองค์เป็นแบบอย่าง ทั้งได้ พระราชทานให้ผู้ใกล้ชิดแต่งและเผยแพร่ให้กว้างขวางยิ่งขึ้น เรียกกันโดยทั่วไปว่า "ชุดไทยพระราชนิยม" มี ๘ ชุด คือ



๑.ชุดไทยเรือนต้น



๒.ชุดไทยจิตรลดา



๓.ชุดไทยอมรินทร์



๔.ชุดไทยบรมพิมาน



๕.ชุดไทยจักรี



๖.ชุดไทยดุสิต



๗. ชุดไทยจักรพรรดิ



๘ ชุดไทยศิวาลัย







ชุดไทยพระราชนิยมเหล่านี้ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงใช้ในโอกาส และสถานที่ต่าง ๆ จนเป็นที่รู้จักแพร่หลายและชื่นชมกันทั่วไป ทั้งในประเทศไทย และต่างประเทศ



















ชุดไทยเรือนต้น







เสื้อ แขน กระบอก นุ่งกับ ผ้าซิ่น ทอลาย ขวาง ใช้ได้ ในหลาย โอกาส เช่น เป็น ชุดเช้า ไว้ใส่ บาตร ไปวัด หรือ ไปงาน มงคล ต่าง ๆ







ชุดไทยเรือนต้น คือ ชุดไทยแบบลำลอง ใช้ผ้าฝ้ายหรือผ้าไหมมีลายริ้วตามขวางหรือตามยาว หรือใช้ผ้าเกลี้ยงมีเชิงตัวซิ่นยาวจรดข้อเท้าป้ายหน้า เสื้อใช้ผ้าสีตามริ้วหรือเชิงสีจะตัดกับซิ่นหรือเป็นสีเดียวกันก็ได้เสื้อคนละท่อนกับซิ่น แขนสามสวนกว้างพอสบาย ผ่าอก ดุมห้าเม็ด คอกลมตื้น ๆ ไม่มีขอบตั้ง เหมาะใช้แต่งไปในงานที่ไม่เป็นพิธีและต้องการความสบายเช่น ไปงานกฐินต้นหรือเที่ยวเรือ เที่ยวน้ำตก















ชุดไทยจิตรลดา







เสื้อ แขน กระบอก นุ่งกับ ผ้าซิ่น ทอลาย ขวาง ใช้ได้ ในหลาย โอกาส เช่น เป็น ชุดเช้า ไว้ใส่ บาตร ไปวัด หรือ ไปงาน มงคล ต่าง ๆ







ชุดไทยจิตรลดา คือ ชุดไทยพิธีกลางวัน ใช้ผ้าไหมเกลี้ยงมีเชิงหรือ เป็นยกดอกหรือตัวก็ได้ ตัดแบบเสื้อกับซิ่น ซิ่น ยาวป้ายหน้าอย่างแบบลำลอง เสื้อแขนยาว ผ่าอก คอกลม มีขอบตั้งน้อย ๆ ใช้ในงานที่ผู้ชายแต่งเต็มยศ เช่น รับประมุขที่มาเยือนอย่างเป็นทางการที่สนามบิน ผู้แต่งไม่ต้องประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ แต่เนื้อผ้าควรงดงามให้เหมาะสมโอกาส



















ชุดไทยอมรินทร์







เสื้อ แขน ยาว คอกลม ตั้ง ติดคอ นุ่งกับ ผ้าซิ่น ไหม ยกทอง ตัดแบบ ซิ่นป้าย สำหรับ แต่งใน งานพิธี ใช้ได้ ในหลาย โอกาส







ชุดไทยอมรินทร์ คือ ชุดพิธีตอนค่ำ ใช้ยกไหมที่มีทองแกมหรือยกทองทั้งตัว เสื้อกับซิ่นแบบนี้อนุโลมให้ สำหรับผู้ไม่ประสงค์คาดเข็มขัด ผู้มีอายุจะใช้คอกลมกว้าง ๆ ไม่มีขอบตั้งและแขนสามส่วนก็ได้ เพราะความสวยงามอยู่ที่เนื้อผ้า และเครื่องประดับที่จะใช้ให้เหมาะสมกับงานเลี้ยงรับรอง ไปดูละครในตอนค่ำและเฉพาะในงานพระราชพิธีสวนสนาม ในวันเฉลิมพระชนมพรรษาผู้แต่งชุดไทยอมรินทร์ ประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์



















ชุดไทยบรมพิมาน







เสื้อ เข้ารูป แขน กระบอก คอตั้ง ติดคอ ผ่าหลัง อาจจะ เย็บติด กับ ผ้านุ่ง ก็ได้ หรือ แยกเป็น คนละ ท่อน ก็ได้ เช่นกัน ส่วน ผ้านุ่ง ใช้ ผ้าซิ่น ไหม ยกดิ้น ทอง ตัดแบบ หน้านาง มีชายพก สำหรับ แต่งใน งาน ราชพิธี หรือ ในงาน เต็มยศ หรือ ครึ่งยศ เช่น งานฉลอง สมรส พิธีหลั่ง น้ำ พระ พุทธมนต์







ชุดไทยบรมพิมาน คือ ชุดไทยพิธีตอนค่ำที่ใช้เข็มขัดใช้ผ้าไหมยกดอกหรือยกทองมีเชิงหรือยกทั้งตัวก็ได้ ตัวเสื้อและซิ่นตัดแบบติดกัน ซิ่นมีจีบข้างหน้าและมีชายพก ใช้เข็มขัดไทยคาดตัวเสื้อแขนยาว คอกลม มีขอบตั้ง ผ่าด้านหลัง หรือด้านหน้าก็ได้ ผ้าจีบยาวจรดข้อเท้า แบบนี้เหมาะสำหรับผู้มีรูปร่างสูงบาง สำหรับใช้ในงานเต็มยศและครึ่งยศ เช่นงานอุทยานสโมสรหรืองานพระราชทานเลี้ยงอาหารอย่างเป็นทางการในคืนที่มีอากาศเย็น ใช้เครื่องประดับสวยงามตามสมควรผู้แต่งประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์







ชุดไทยจักรี







เสื้อตัวในไม่มีแขน ไม่มีคอ ห่มทับด้วยสไบ แบบมีชายเดียว ปักดิ้นทอง ชุดไทยจักรี เดิมจะไม่ปัก นุ่งทับด้วยผ้าซิ่นไหม ยกดิ้นทอง ตัดแบบหน้านาง มีชายพก คาดเข็มขัด เครื่องประดับ สร้อยคอ รัดแขน สร้อยข้อมือ สำหรับ แต่งในงาน เลี้ยงฉลองสมรส หรือ ราตรีสโมสรที่ไม่เป็นทางการ







ชุดไทยจักรี คือชุดไทยประกอบด้วยสไบเฉียง ใช้ผ้ายกมีเชิงหรือยกทั้งตัว ซิ่นมีจีบยกข้างหน้า มีชายพกใช้เข็มขัดไทยคาด ส่วนท่อนบนเป็นสไบ จะเย็บให้ติดกับซิ่นเป็นท่อนเดียวกันหรือ จะมีผ้าสไบห่มต่างหากก็ได้ เปิดบ่าข้างหนึ่ง ชายสไบคลุมไหล่ ทิ้งชายด้านหลังยาวตามที่เห็นสมควร ความสวยงามอยู่ที่เนื้อผ้าการเย็บและรูปทรงของผู้ที่สวม ใช้เครื่องประดับได้งดงามสมโอกาสในเวลาค่ำคืน















ชุดไทยจักรพรรดิ







ผ้าซิ่น ไหม ยกดิ้น ทอง มีเชิง สีทอง ตัดแบบ หน้านาง มี ชายพก ห่มด้วย สไบ ปัก ลูกปัด สีทอง เป็นเครื่อง แต่งกาย สตรี สูงศักดิ์ สมัย โบราณ ปัจจุบัน ใช้เป็น เครื่อง แต่งกาย ชุด กลางคืน ที่ หรูหรา หรือ เจ้าสาว ใช้ใน งาน ฉลอง สมรส ยามค่ำ เครื่อง ประดับ ที่ใช้ รัดเกล้า ต่างหู สร้อยคอ สังวาลย์ สร้อยข้อมือ







ชุดไทยจักรพรรดิ คือ ชุดไทยห่มสไบคล้ายไทยจักรี แต่ว่ามีลักษณะเป็นพิธีรีตรองมากกว่า ท่อนบนมีสไบจีบรองสไบทึบ ปักเต็มยศบนสไบชั้นนอก ตกแต่งด้วยเครื่องประดับอย่างสวยงาม ใช้สวมในพระราชพิธีหรืองานพิธีต่าง ๆ ที่ยิ่งใหญ่ระดับชาติ



















ชุดไทยดุสิต







เสื้อ คอกลม กว้าง ไม่มีแขน เข้ารูป ปักแต่ง ลายไทย ด้วย ลูกปัด ใช้กับ ผ้าซิ่น ไหม ยกดิ้น ทอง ลาย ดอกพิกุล ตัดแบบ หน้านาง มี ชายพก ใช้ใน งาน ราตรี สโมสร หรือ เป็นชุด ฉลอง สมรส เครื่อง ประดับ ที่ใช้ ต่างหู สร้อยคอ แหวน







ชุดไทยดุสิต คือ ชุดไทยคอกว้าง ไม่มีแขนใช้ในงานกลางคืนแทนชุดราตรีแบบตะวันตก ตัวเสื้ออาจปักหรือตกแต่งให้เหมาะสม กับงานกลางคืน ตัวเสื้ออาจเย็บติดหรือแยกคนละท่อนกับซิ่นก็ได้ ซิ่นใช้ผ้ายกเงินหรือทองจีบชายพก ผู้แต่งอาจใช้เครื่องประดับแบบไทยหรือตะวันตกตามควรแก่โอกาส























ชุดไทยศิวาลัย







เสื้อตัวในไม่มีแขน ไม่มีคอ ห่มทับด้วยสไบ แบบมีชายเดียว ทิ้งชายสไบยาวด้านหลัง ปักด้วยลูกปัดทอง นุ่งทับด้วยผ้าซิ่นไหม ยกดิ้นทอง ตัดแบบหน้านาง มีชายพก คาดเข็มขัด เครื่องประดับ สร้อยคอ รัดแขน สร้อยข้อมือ เป็นเครื่องแต่งกาย ของสตรี บรรดาศักดิ์ ปัจจุบันใช้ในงาน เลี้ยงฉลอง สมรส หรือเลี้ยงอาหารค่ำ







ชุดไทยศิวาลัย มีลักษณะเหมือนชุดไทยบรมพิมานแต่ว่า ห่มสไบ ปักทับเสื้ออีกชั้นหนึ่งใช้ในงานพระราชพิธี หรืองานพิธีเต็มยศเหมาะแก่การใช้แต่งช่วงที่มีอากาศเย็น



















ชุดไทยประยุกต์




                 เป็นชุดที่ดัดแปลง มาจากชุดไทยจักรี ตัวเสื้อตัวใน ตัดแบบแขนนางชี จับเดรฟทิ้งชายยาว ตัวเสื้อติดกับ ผ้าซิ่นยกดอก ลายไทย ตัดแบบหน้านาง มีชายพก คาดเข็มขัด เครื่องประดับ พองาม นิยมมาก ในงาน ราตรีสโมสร หรือ เลี้ยงฉลอง สมรส




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น